Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7980
Title: | พฤติกรรมการซื้อบ้านเดี่ยวระดับราคา 3-5 ล้านบาทของประชากรในจังหวัดนนทบุรี |
Other Titles: | Purchasing behaviour of Nonthaburi citizens for detached houses priced 3-5 million baht |
Authors: | ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร มณี กองเกตุใหญ่, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ทัศนีย์ ชาติไทย |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ การซื้อบ้าน--ไทย--นนทบุรี |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพี่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อบ้านเดี่ยวระดับราคา 3-5 ล้านบาท (2) เพี่อศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวระดับราคา3-5 ล้านบาท (3) เพื่อศึกษากระบวนการในการตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวระดับราคา 3-5 ล้านบาท (4) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะบุคคล กับกระบวนการในการตัดสินใจซื้อการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นประชากรในจังหวัด นนทบุรี ที่มีความต้องการชื้อบ้านเดี่ยวระดับราคา 3-5 ล้านบาทในปี 2547 โดยการสุ่มแบบบังเอิญตามสัดส่วนของแต่ละเขต จำนวน 400 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครี่องมือในการเก็บข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติ การทดสอบแบบที การทดสอบแบบเอฟ และ การทดสอบแบบไคร์แสคว์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมการเลือกซื้อบ้านเดี่ยวของกลุ่มตัวอย่างต้องการเลือกซื้อบ้านเดี่ยว 2 ชั้นในระดับราคา 3-3.5 ล้านบาทเนื้อที่ 60-80 ตารางวา พื้นที่ใช้สอย 140-150 ตารางเมตร 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ ต้องการผ่อนชำระกับสถาบันการเงิน (2) ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวค่าเฉลี่ยโดยรวมส่งผลในระดับมาก (3) กระบวนการตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยว ค่าเฉลี่ยโดยรวมส่งผลในระดับมาก (4) ในด้านลักษณะบุคคล ส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 30-35 ปี สมรสแล้ว การศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 4-5 คน ผลงานวิจัยพบว่าผู้ซื้อที่มีอายุแตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อและพฤติกรรมหลังการซื้อต่างกัน สถานภาพที่แตกต่างกันมีการรับรู้ปัญหาและการตัดสินใจซื้อต่างกัน ระดับการศึกษาและรายได้ครอบครัวต่อเดือนแตกต่างกันมีการรับรู้ปัญหา การค้นหาข้อมูล การประเมินทางเลือก การตัดสินใจซื้อ และพฤติกรรมหลังการซื้อต่างกัน จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่แตกต่างกันมีการค้นหาข้อมูลต่างกัน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2548 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7980 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License