กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7984
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อยาของผู้บริโภคในร้านขายยาขององค์การเภสัชกรรม ในเขตกรุงมหานครและปริมณฑล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Comparison of consumer's drug purchasing behavior in private retail drugstores and the government pharmaceutical organization retail drugstores in Bangkok and surrounding areas
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นพรัตน์ ศรีวงศ์พานิช, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
ร้านขายยา -- ไทย -- กรุงเทพฯ
พฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย -- กรุงเทพฯ
วันที่เผยแพร่: 2548
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคในร้านขายยาขององค์การ เภสัชกรรมและร้านขายยาทั่วไป (2) ศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อยาของผู้บริโภคในร้านขายยาของ องค์การเภสัชกรรมและร้านขายยาทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่ใช้บริการจากร้านขายยาขององค์การเภสัชกรรมและร้านขายยาทั่วไปใน เขตที่มีร้านขายยาขององค์การเภสัชกรรมจำนวน 420 ราย จำแนกออกเป็นผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านขายยาของ องค์การเภสัชกรรมจำนวน 210 ราย และผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านขายยาทั่วไป จำนวน 210 ราย เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการซื้อยา และความคิคเห็นของผู้บริโภค สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทคสอบไคสแคว์ โดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างของร้านขายยาขององค์การเภสัชกรรมส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุ 25-35 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานบริษัท/รับจ้าง และมีรายได้เฉลี่ย 10001-20000 บาทต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างของร้านขายยาทั่วไปส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 25-35 ปี การรักษาระดับปริญญาตรี เป็นพนักงาน บริษัท/รับจ้าง และมีรายได้เฉลี่ย 10001-20000 บาทต่อเดือน (2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การซื้อยาของผู้บริโภคในร้านขายยาขององค์การเภสัชกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ เพศมี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อยาในด้านเหตุผลที่ซื้อยาและวิธีการที่ใช้ในการซื้อยา อายุ และรายได้มี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อยาในด้านพฤติกรรมเมื่อจำเป็นต้องซื้อยา และวิธีการในการซื้อยา อาชีพมี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อยาในด้านพฤติกรรมเมื่อจำเป็นต้องซื้อยาและแหล่งที่ซื้อยาบ่อยที่สุค (3) ปัจจัย ส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อยาของผู้บริโภคในร้านขายยาทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 คือ เพศมีความสันพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อยาในด้านพฤติกรรมเมื่อจำเป็นต้องซื้อยา และวิธีการที่ใช้ ในการซื้อยา อายุ อาชีพและรายได้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อยาในด้านแหล่งที่ซื้อยาบ่อยที่สุด ส่วน การศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อยาของผู้บริโภคของร้านขายยาทั้งสอง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7984
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
90582.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons