กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7996
ชื่อเรื่อง: สิทธิของผู้เสียหายกับการเยียวยาผู้เสียหายในคดีอาญาโดยรัฐ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Right and compensation to victim of crime by the State
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินาฏ ลีดส์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนุพุฒิ พ่วงทอง, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้เสียหาย
ความช่วยเหลือทางกฎหมาย
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง “สิทธิของผู้เสียหายกับการเยียวยาผู้เสียหายในคดีอาญาโดยรัฐ” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียหายกับการเยียวยาผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม 2) เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการและหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย ตลอดจนปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียหายกับการเยียวยาผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิทางกฎหมายและการเยียวยาผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของต่างประเทศกับของประเทศไทย และ 4) พื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียหายกับการเยียวยาผู้เสียหายในคดีอาญาโดยรัฐในประเทศไทย การค้นคว้าอิสระเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยการศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูลจากตำรา วารสาร เอกสารทางวิชาการ การวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความทางกฎหมาย ตลอดจนข้อมูลทางเว็บไซต์ต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ต เอกสารที่เกี่ยวข้องและตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียหายกับการเยียวยาผู้เสียหายในคดีอาญาโดยรัฐ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากการศึกษาพบว่า กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียหายและการเยียวยาผู้เสียหายในคดีอาญาโดยรัฐของประเทศไทยยังมีความไม่เหมาะสมและเป็นธรรมเพียงพอ เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการของต่างประเทศ โดยมีเพียงพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและ ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 กำหนดเรื่องสิทธิของผู้เสียหายว่า จะต้องเป็นบุคคลซึ่งได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือร่างกายหรือจิตใจ นอกจากนี้มาตรการเยียวยาผู้เสียหายในทางอื่นนอกจากตัวเงิน กฎหมายของประเทศไทยก็ไม่ได้ให้ความคุ้มครองไว้อย่างชัดเจน แต่กระจัดกระจายไปตามกฎหมายฉบับอื่นๆ เช่น ในกฎหมายคุ้มครองพยานในคดีอาญา เป็นต้น ดังนี้ ผู้ศึกษาเห็นว่า ควรปรับปรุงมาตรการในการเยียวยาผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งในแง่กฎหมายที่ใช้บังคับและมาตรการรองรับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7996
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons