กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8004
ชื่อเรื่อง: การอุทิศที่ดินให้เป็นที่สาธารณประโยชน์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Dedication of land to be public land
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กมลชัย รัตนสกาววงศ์
อภิวัตร ชาญนอก, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ที่ดินสาธารณะ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมาแนวคิดและทฤษฎีหลักกฎหมายเกี่ยวกับการอุทิศที่ดินให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับการอุทิศที่ดินให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ในประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการอุทิศที่ดินให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ และ (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการอุทิศที่ดินให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ได้แก่ กฎหมาย หนังสือ ข้อหารือ ความเห็นทางกฎหมาย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ บทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการอุทิศที่ดินให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ผลการศึกษาพบว่า (1) การอุทิศที่ดินให้เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์นั้น คือ การที่เอกชนยอมสละกรรมสิทธิ์ในที่ดินของตนเองเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินตามวัตถุประสงค์ของการอุทิศที่ดินนั้นโดยไม่จำกัดเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น จากการศึกษาการอุทิศที่ดินของประเทศออสเตรเลียและประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าประเทศออสเตรเลียมีเพียงการอุทิศที่ดินโดยชัดแจ้งเท่านั้น ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกามีการอุทิศที่ดินอยู่ 3 รูปแบบ ได้ การอุทิศที่ดินโดยชัดแจ้ง โดยปริยาย และโดยนัย ซึ่งการอุทิศที่ดินโดยชัดแจ้งของออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกามีความเหมือนกันคือ จะต้องมีการพิจารณากลั่นกรองจากหน่วยงานของรัฐในการรับการอุทิศที่ดินก่อนว่าควรจะรับการอุทิศหรือไม่ ซึ่งหน่วยงานของรัฐสามารถพิจารณารับการอุทิศที่ดินนั้นได้หากเห็นว่าเป็นประโยชน์ หรืออาจให้ ผู้อุทิศที่ดินไปดำเนินการแก้ไขสาธารณูปโภคให้อยู่ในสภาพดีก่อน หรือจะกำหนดให้ผู้อุทิศที่ดินชดใช้เป็นเงินให้กับหน่วยงานของรัฐเพื่อการดูแลรักษาที่ดินสาธารณประโยชน์นั้น ก็ได้ ส่วนการอุทิศที่ดินโดยปริยาย และโดยนัย ของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นกฎหมายคอมมอนลอว์ ก็จะมีการพิจารณาเป็นรายกรณีไป (2) การอุทิศที่ดินของประเทศไทยนั้นสามารถกระทำได้ 2 วิธีคือการอุทิศที่ดินโดยชัดแจ้งและการอุทิศโดยปริยาย (3) การอุทิศทั้ง 2 วิธี ยังไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ชัดเจนเพื่อเป็นข้อพิจารณาในการอุทิศที่ดิน ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐกับเอกชนตลอดมา (4) จึงเสนอแนะแนวทางแก้ไข คือให้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการอุทิศที่ดินให้เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ทั้งการอุทิศที่ดินโดยชัดแจ้งโดยนำหลักการอุทิศที่ดินโดยชัดแจ้งของออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกามาปรับใช้ กล่าวคือจะต้องมีการพิจารณากลั่นกรองจากหน่วยงานของรัฐในการรับการอุทิศที่ดินก่อน และนำหลักประโยชน์สาธารณะ หลักประโยชน์ส่วนตัวและหลักประโยชน์ร่วมกัน ในการอุทิศที่ดินมาเป็นข้อพิจารณาในการอุทิศที่ดินโดยชัดแจ้ง และให้มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอุทิศที่ดินโดยปริยาย โดยกำหนดลักษณะการอุทิศที่ดินโดยปริยายจากการให้สาธารณชนใช้สอยโดยมิได้สงวนหวงห้ามหรือสงวนสิทธิการใช้ประโยชน์ หรือการปล่อยให้หน่วยงานของรัฐเข้าไปดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะในที่ดินของตน และระยะเวลาที่จะถือได้ว่าเป็นอุทิศที่ดินโดยปริยาย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8004
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons