กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8046
ชื่อเรื่อง: | การประเมินผลโครงการรณรงค์ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : กรณีศึกษา จังหวัดอำนาจเจริญ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Evaluation of alcoholic drinking behavior reduction campaign project : a case study of Ammatcharoen |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา ชินรัตน์ สมสืบ, อาจารย์ที่ปรึกษา ดลใจ ทองสิงห์, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์ โครงการรณรงค์ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ -- การประเมิน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ -- การป้องกันและควบคุม |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลโครงการรณรงค์ลดการบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในจังหวัดอำนาจเจริญ โดยใช้กรอบ CIPP Model ซึ่งได้แก่ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) และด้านผลผลิต (Product) (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของช้าราชการ ที่มีต่อโครงการรณรงค์ลดการบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการที่ เกี่ยวข้องกับโครงการในจังหวัดอำนาจเจริญ ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุข ได้จากการสุ่มตัวอย่าง แบบสองขั้นตอน และข้าราชการตำรวจ ได้จาการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย รวมทั้งสิ้น 434 คน เครื่องมือ ที่ใช้เป็นแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูล โดยส่งแบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างโดยตรง วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การแจกแจงความถี่ ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้การทดสอบค่าที (t - test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า ระดับของความคิดเห็นในภาพรวม เกี่ยวกับโครงการรณรงค์ลดการ บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นโดยรวมอยู่ ในระดับปานกลางทั้ง 4 ด้าน ส่วนการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และอายุราชการต่างกันมีความคิดเห็นโดยรวมทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกันอย่างมันัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และไม่แตกต่างกัน ยกเวัน กลุ่มระดับ การศึกษา มีความคิดเห็นโดยรวมทั้ง 4 ด้านไม่แตกต่างกัน จากการวิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ควรมีการประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมรณรงค์อย่าง ฅ่อเนื่อง ไม่ควรเน้นการจัดกิจกรรมเฉพาะในงานเทศกาล งานประเพณี และวันสำคัญเท่านั้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8046 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License