กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8057
ชื่อเรื่อง: การดักฟังทางโทรศัพท์ในคดีปราบปรามยาเสพติด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The telephone intercept on narcotics suppression
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เจริญชัย บุญเกลี้ยง, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
การดักฟังข้อมูลข่าวสาร
ยาเสพติด--คดีและการสู้คดี
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับการสืบสวนพิเศษ โดยวิธีการดักฟัง และแนวความคิดเกี่ยวกับสิทธิ และเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบการสืบสวนพิเศษ โดยการดักฟังตามพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 มาตรา 14 จัตวา กับการสืบสวนพิเศษโดยการดักฟังตามกฎหมายต่างประเทศ ศึกษาหลักกฎหมายเกี่ยวกับการสืบสวนพิเศษโดยการดักฟังตามพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. มาตรา 14 จัตวา เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุงการสืบสวนพิเศษโดยการดักฟังตามพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 มาตรา 14 จัตวา เพื่อมิให้เกินขอบเขตในการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิจัยจากเอกสาร จากการค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลจากหนังสือและตำรากฎหมาย บทความเอกสาร รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ ตลอดจนเอกสาร สิ่งพิมพ์ และสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบออนไลน์ต่าง ๆ ผลการศึกษา พบว่า สิทธิและเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันของประชาชนเป็นสิทธิเสรีภาพ ขั้นพื้นฐานที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปราม ยาเสพติด พ.ศ. 2519 มาตรา 14 จัตวา เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานสืบสวนในรูปแบบพิเศษ โดยการดักฟัง โดยจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ว่าด้วยการได้มา การใช้ประโยชน์ และการเก็บรักษาข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2545 แต่ก็พบว่าในการใช้มาตรการในการดำเนินการยังไม่เป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการติดต่อสื่อสารถึงกันอัน เนื่องมาจากไม่มีการกำหนดถึงตำแหน่ง คุณสมบัติ ความรู้ความสามรถของเจ้าพนักงานที่มีอำนาจดักฟังไว้อย่างชัดเจน ไม่มีองค์กรอื่นเข้าร่วมในการกลั่นกรองก่อนเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดพิจารณาอนุมัติให้มีการดักฟัง ไม่มีการรายงานผลการดักฟังและกำหนดระยะเวลาในการรายงานผลการดักฟังภายหลังจากที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาอนุญาตให้มีการดักฟังไว้อย่างชัดเจน จึงเป็นช่องว่างและไม่เพียงพอที่จะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารของประชาชน ควรที่จะปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ เพื่อมิให้เจ้าพนักงานใช้อำนาจกระทำการที่เกินขอบเขตในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8057
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons