กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8067
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการนำมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญามาใช้กับเด็กและเยาวชน : ศึกษาเฉพาะในชั้นพิจารณาและแทนการพิพากษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems of implementation to special measures in the juvenile criminal : case study of the trial and in place of the sentencing
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิภา เมืองถ้ำ
ประภัสสร คำดี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การฟ้องคดีอาญา
ความผิดในคดีเด็กและเยาวชน
กระบวนการยุติธรรมสำหรับเยาวชน
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ของกฎหมายเกี่ยวกับการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาต่อเด็กและเยาวชน และเพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสารโดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร ประกอบด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องทางวิชาการ ตำรา บทความ รายงานวิชาการต่าง ๆ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ บทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นตัวบทกฎหมายของประเทศไทย และต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่ผลการวิจัย ผลจากการศึกษาพบว่า มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาต่อเด็กและเยาวชนในชั้นพิจารณา และแทนการพิพากษามีข้อบกพร่องบางประการ กล่าวคือ การนำมาตรการดังกล่าว มาใช้ยังไม่มีการกำหนดประเภทคดี หากเด็กและเยาวชนปฏิบัติตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูแล้วศาลจะต้องมีคำสั่งยุติคดี เห็นควรแก้ไขกฎหมาย ให้มีการกำหนดประเภทคดีที่จะนำมาตรการ ดังกล่าวมาใช้ และกำหนดประเภทคดีที่สามารถยุติคดีได้ คดีที่มีการนำมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาในชั้นพิจารณามาใช้ คดีดังกล่าวจะยังไม่มีการสืบพยาน หากต้องดำเนินคดีต่อไป อาจเกิดปัญหาการติดตามพยาน เห็นควรแก้ไขกฎหมาย คือ ในคดีที่มีอัตราโทษจาคุกขั้นต่ำตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ให้มีการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพก่อน นอกจากนี้การกำหนดเงื่อนไขให้จำเลยปฏิบัติไม่สัมพันธ์กับสาเหตุของการกระทำความผิด ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงการที่ศาลใช้ดุลพินิจส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปควบคุมที่ศูนย์ฝึกอบรม เห็นควรแก้ไขกฎหมายให้มีการจำแนกการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนก่อนที่ศาลจะคำสั่งนำมาตรการพิเศษมาใช้ หรือก่อนการพิพากษาคดี และให้นำการประชุมกลุ่มครอบครัวด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8067
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons