กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8099
ชื่อเรื่อง: การรับรู้ที่มีต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบร้านเคเอฟซีของผู้บริโภค สาขาบิ๊กซีอ้อมใหญ่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Customer perception toward the renovation of KFC Restaurant at Big C Superstore, Aom-Yai Branch
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร
คุณากร สมิทธินันท์, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี
ร้านเคเอฟซี
การศึกษาอิสระ--การตลาด
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลของผู้ที่มาใช้บริการ ร้านเคเอฟซี สาขาบิ๊กซีอ้อมใหญ่ ภายหลังการปรับรูปแบบใหม่ (2) ศึกษาระดับการรับรู้ก่อนการปรับปรุงรูปแบบร้านเคเอฟซี สาขาบิ๊กซีอ้อมใหญ่ (3) ศึกษาระดับการรับรู้หลังการปรับปรุงรูปแบบ ร้านเคเอฟซี สาขาบิ๊กซีอ้อมใหญ่และ (4) เปรียบเทียบความแตกต่างของการรับรู้ก่อนและหลังการ ปรับปรุงรูปแบบร้านเคเอฟซี สาขาบิ๊กซีอ้อมใหญ่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ ลูกค้าที่มาใช้บริการที่ร้านเคเอฟซี สาขาบิ๊กซีอ้อมใหญ่ ภายหลังการปรับรูปแบบใหม่ที่ไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ความเชื่อมั่น 95% จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21 - 25 ปี การศึกษา ระดับมัธยมศึกษา อาชีพพนักงานบริษัท รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 9,001 – 12,000 บาท สถานภาพโสด (2) ระดับการรับรู้ของผู้บริโภคก่อนการปรับเปลี่ยนรูปแบบร้านเคเอฟซีสาขาบิ๊กซีอ้อมใหญ่โดยภาพรวม อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านประสบการณ์ผู้บริโภคโดยมีโต๊ะเก้าอี้ที่แข็งแรง อยู่ใน่ระดับดีที่สุด รองลงมาคือด้านสิ่งเร้า มีรูปแบบเคาน์เตอร์ที่น่าสนใจ และด้านประสาทสัมผัส พนักงานมีน้ำเสียงในการสื่อสารที่ดี (3) ระดับการรับรู้ของผู้บริโภคหลังการปรับเปลี่ยนรูปแบบร้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านสิ่งเร้า มีรูปแบบเคาน์เตอร์ที่น่าสนใจ อยู่ในระดับดีที่สุด รองลงมาคือ ด้านประสบการณ์ ผู้บริโภคในร้านมีบรรยากาศที่ทันสมัย และด้านประสาทสัมผัส มีการตกแต่งดีไซน์ร้านที่ทันสมัย และ (4) การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระดับการรับรู้ก่อน และหลังการปรับปรุงรูปแบบร้านในทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้น ด้านประสาทสัมผัสทางหูและทางกายที่ไม่พบความแตกต่าง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8099
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_147910.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons