กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/809
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลเจนเนอเรชั่นวายที่จบใหม่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of a nurse preceptor model for new graduate generation Y nurses at Vajira Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา, อาจารย์ที่ปรึกษา เบญจวรรณ แว่นแก้ว, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ พยาบาลพี่เลี้ยง |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพการณ์และความต้องการรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลเจนเนอเรชั่นวายที่จบใหม่ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล 2) พัฒนารูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลเจนเนอเรชั่นวายที่จบใหม่ และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลเจนเนอเรชั่นวายที่จบใหม่ที่พัฒนาขึ้น ผู้ให้ข้อมูลหลัก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย หัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 4 คนและพยาบาลพี่เลี้ยง จำนวน 4 คน และกลุ่มที่ 2 พยาบาลเจนเนอเรชั่นวายที่จบใหม่ จำนวน 8 คน โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยสาขาการพยาบาลสูตินรีเวชกรรม ศัลยกรรม อายุรกรรม และกุมารเวชกรรม และได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้มี 3 ชุด ได้แก่ 1) แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลเจนเนอเรชั่นวายที่จบใหม่ และ 3) โครงการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.5 - 1.0 วิเคราะห์เนื้อหาโดยการจำแนกประเภทข้อมูลและคำนวณค่าความเหมาะสมของรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์และความต้องการรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลเจนเนอเรชั่น่วายที่จบใหม่ มีประเด็น 3 ประการ ดังนี้ (1) ด้านโครงสร้าง ได้แก่ การกำหนดคุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือกพยาบาลพี่เลี้ยงการมอบหมายและการกำหนดสัดส่วนพยาบาลพี่เลี้ยงต่อพยาบาลจบใหม่การเตรียมและการแต่งตั้งพยาบาลพี่เลี้ยง และการมีแผนการสอนที่ชัดเจน (2) ด้านกระบวนการ ได้แก่ การกำหนดกระบวนการและระยะเวลาการเรียนรู้ระหว่างพยาบาลพี่เลี้ยงกับพยาบาลจบใหม่ และ (3) ด้านผลลัพธ์ ได้แก่ การประเมินผลการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงที่เป็นรูปธรรม 2) รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลเจนเนอเรชั่นวายที่จบใหม่ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ ด้านโครงสร้าง ด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์ สร้างบนพื้นฐานของสภาพการณ์และความต้องการรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงดังกล่าว และบูรณาการกีบแนวคิดและทฤษฎี 4 ประการ ได้แก่ รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลจบใหม่คุณลักษณะของพยาบาลวิชาชีพไทยรุ่นอายุวาย การบริหารพยาบาลวิชาชีพเจนเนอเรชั่นวาย และการเสริมสร้าง พลังอำนาจในองค์กร และ 3) รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลเจนเนอเรชั่นวายที่จบใหม่ ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ร้อยละ 81.73 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/809 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext 156759.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.69 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License