กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8101
ชื่อเรื่อง: | การประเมินผลโครงการส่งเสริมการประกวดสถานประกอบกิจการให้มีระบบบริหารจัดการที่ดีในด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Evaluation of project of promoting the contest of enterprise providing good management system of labour relations and labour welfare |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จีระ ประทีป อรอุมา กุลวานิชไชยนันท์, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี แรงงานสัมพันธ์ โครงการ--การประเมิน การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลโครงการส่งเสริมการประกวดสถานประกอบ กิจการให้มีระบบการบริหารจัดการที่ดีในด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน ในด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต (2) เสนอแนวทางการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินโครงการส่งเสริมการ ประกวดสถานประกอบกิจการให้มีระบบการบริหารจัดการที่ดีในด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน การศึกษาครั้งนี้ประชากร ได้แก่ ข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่รับผิดชอบภารกิจงาน ด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน จำนวน 27 คน และผู้แทนจากสถานประกอบกิจการที่เข้าร่วมโครงการฯ ประจำปี 2557 และผ่านเกณฑ์การพิจารณาได้รับรางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่น 5 ปี ติดต่อกันขึ้นไป จำนวน 163 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลที่สมบูรณ์สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ทั้งหมด 175 ชุด คิดเป็นร้อยละ 92 จากแบบสอบถามทั้งหมด โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 ความตรงด้านเนื้อหาภาพรวม เท่ากับ 0.92 ส่วน ข้อคำถามแต่ละข้อมีความตรงด้านเนื้อหามากกว่า 0.50 การวิจัยข้อมูลส่วนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ ส่วนที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนที่ 3 เป็นคำถามปลายเปิดใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการประกวดสถานประกอบกิจการให้มีระบบการ บริหารจัดการที่ดีในด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ในภาพรวมอยู่ ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีระดับมากในทุกด้านตามลำดับ คือ ด้านผลผลิต ด้านสภาพแวดล้อมหรือบริบท ด้านกระบวนการ และด้านปัจจัยเบื้องต้น (2) ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินโครงการคือ รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับนโยบายด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน โดยสร้างแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการมีการประชาสัมพันธ์โครงการในหลายช่องทางเพื่อเชิญชวนสถานประกอบกิจการให้เข้าร่วมโครงการมากขึ้น ด้านปัจจัยเบื้องต้น ควรมีการกำหนดคุณสมบัติ ของผู้ตรวจประเมินฯ และจัดอบรมให้ความรู้ ควรจัดสรรงบประมาณดำเนินการให้ พื้นที่/จังหวัดเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ด้านกระบวนการ ควรเพิ่มการสัมภาษณ์ลูกจ้างทั่วไป และลงตรวจประเมินพื้นที่ภายในสถานประกอบกิจการ และควรปรับเปลี่ยนระบบการตรวจประเมิน เพื่อลดขั้นตอนการทำงานเพื่อความปลอดภัยและลดค่าใช้จ่ายของทางภาครัฐและเอกชน ด้านผลผลิต ควรมีกระบวนการติดตามผลการพัฒนารูปแบบ ด้านแรงงานสัมพันธ์และการจัดสวัสดิการแรงงานที่ดีได้มาตรฐานในสถานประกอบกิจการที่ได้รับรางวัล เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างให้กับสถานประกอบกิจการอื่นต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8101 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_148518.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.05 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License