กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8127
ชื่อเรื่อง: | การเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการของการประปาส่วนภูมิภาค |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Increase of potential of management administration of the Provincial Waterworks Authority |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิรัช วิรัชนิภาวรรณ อดุลย์ แสงทอง, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศิรินทร์ ธูปกล่ำ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ การประปาส่วนภูมิภาค--การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อศักยภาพ ในการบริหารจัดการ ปัญหา แนวทางการพัฒนา และ (2) ศึกษาเปรียบเทียบภาพรวมศักยภาพในการ บริหารจัดการของการประปาส่วนภูมิภาค ทั้งนี้ ได้นำกระบวนการบริหารจัดการที่เรียกว่า PAMS- POSDCoRB ซึ่งประกอบด้วย 11 ด้าน ได้แก่ การบริหารนโยบายการบริหารอำนาจหน้าที่ การบริหารคุณธรรม การบริหารที่เกี่ยวข้องกับสังคม การวางแผน การจัดองค์การ การบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ การอำนวยการ การประสานงาน การรายงาน และการงบประมาณ เป็นกรอบในการศึกษาวิเคราะห์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการทดสอบรวมทั้งผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามที่ระดับ 0.82 การเก็บรวบรวมข้อมูลข้อมูลสนามจากพนักงานการประปาส่วนภูมิภาค ดำเนินการระหว่างวันที่ 18 สิงหาคม ถึง วันที่ 23 กันยายน 2549 ได้กลุ่มตัวอย่าง 880 คน คิดเป็นร้อยละ 81.4 ของกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด (1,180 คน) สำหรับสถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับปานกลาง ว่า การประปาส่วนภูมิภาคมีศักยภาพในการบริหารจัดการ และเห็นด้วยในระดับมาก ว่า ศักยภาพในการบริหารจัดการของการประปาส่วนภูมิภาคในปัจจุบนสูงกว่าในอดีต และเห็นด้วยในระดับน้อย ว่า ศักยภาพในการบริหารจัดการของการประปาส่วนภูมิภาคสูงกว่าการประปานครหลวง สำหรับข้อเสนอแนะ เช่นการประปาส่วนภูมิภาคควรกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับหลักการกระจายอำนาจ และ การบริหารจัดการของการประปาส่วนภูมิภาคควรเป็นไปในทิศทางที่เอื้ออำนวยต่อผลประโยชน์ของส่วนรวม และมีเป้าหมายเพื่อประชาชน นอกจากนี้ควรนำกรอบแนวคิด PAMS-POSDCoRBไปปรับใช้ในการศึกษาวิจัยในอนาคด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8127 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License