กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8135
ชื่อเรื่อง: การประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ จังหวัดนนทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An evaluation of school-based curriculum in the mathematics learning area at the Upper Primary Level of the Commemorating Her Majesty Queen Sirikit's 60th Birthday Anniversary School in Nonthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
อุไรวรรณ กุลวงศ์วิทย์, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
คณิตศาสตร์--การประเมิน.--หลักสูตร
การประเมินหลักสูตร--ไทย--นนทบุรี
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความพร้อมด้านปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ ๖0 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตพระบรมราชินีนาถ (2) ประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการใช้หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาตอนปลายของโรงเรียน และ (3) ประเมินผลผลิตของหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาตอนปลายของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารจำนวน 2 คน ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ จำนวน 5 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในปีการศึกษา 2556 จำนวน 225 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ความพร้อมด้านปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตรผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ ครูผู้สอน เอกสารประกอบหลักสูตร สื่อ/อุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้ ยกเว้นด้านงบประมาณไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน (2) ความเหมะสมด้านกระบวนการใช้หลักสูตรผ่านเกณฑ์ การประเมินทุกด้าน ได้แก่ การบริหารหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล และ (3) ผลผลิตของหลักสูตร ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน ได้แก่ ผลสัมฤทธิทางการเรียน การอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และการประเมินระดับชาติ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8135
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_144782.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.84 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons