Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8142
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกล้า ทองขาวth_TH
dc.contributor.authorประทวน บุญรักษาth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-07-24T08:47:06Z-
dc.date.available2023-07-24T08:47:06Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8142en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2538th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาผลการบริหารงานวิชาการ ระดับมัธยม-ศึกษา ของโรงเรียนประถมศึกษาในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดอุบลราชธานี ทั้ง 4 งาน คือ งานหลักสูตรและการนำไปใช้ งานการเรียนการสอน งานนิเทศการศึกษา และ งานวัดผลและประเมินผล และเปรียบเทียบผลการบริหารงานวิชาการระดับมัธยมศึกษาตามตัวแปร พื้นฐาน คือ ตำแหน่งหน้าที่ ขนาดของโรงเรียน ประสบการณ์การบริหาร ประสบการณ์การสอน เพศ อายุ และวุฒิทางการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนและครูสายงานผู้สอน ของโรงเรียนประถมศึกษาในโครงการขยายโกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 251 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบ ถามเกี่ยวกับ ผลการบริหารงานวิชาการระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา รวม 4 งาน คือ งานหลักสูตรและการนำไปใช้ งานการเรียนการสอน งานนิเทศการศึกษา และงานวัดผลและ ประเมินผล รวม 38 ข้อ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) โดยมี ความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .9484 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ( Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t - test และ F - test ข้อค้นพบจากการวิจัย 1. ผลการบริหารงานวิชาการระดับมัธยมศึกษา ของโรงเรียนประถมศึกษา ในโครงการ ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดอุบลราชธานี ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร โรงเรียนและครูสายผู้สอนในภาพรวมทั้ง 4 งาน มีผลการบริหารงานอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละผลการบริหารงานแต่ละด้านพบว่า ผลงานด้านการวัดผลและประเมินผลอยู่ในระดับมาก ผลงานด้านหลักสูตรและการนำไปใช้ ด้านการนิเทศการศึกษา และผลงานด้านการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง 2. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครู จำแนกตามตัวแปรที่ศึกษา พบว่า ข้า ราชการครูที่มีตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อผลการบริหารงานวิชาการรวมทั้ง 4 งาน แตก ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อผลการบริหารงานวิชา การแต่ละงานแล้ว พบว่างานด้านการวัดผลและประเมินผล มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนอีก ทั้ง 3 งานมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ข้าราชการครู ที่ปฏิบัติ หน้าที่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อผลการบริหารงานวิชาการในภาพรวมทั้ง 4 งาน ไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อผลการบริหารงานวิชาการแต่ละงานแล้ว พบ ว่า ผลการบริหารงานด้านหลักสูตรและการนำไปใช้ แตกต่างกันอย่างมีนัยคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอีกทั้ง 3 งานไม่แตกต่างกัน ประสบการณ์การบริหารต่างกัน มีความคิดเห็นต่อผลการ บริหารงานวิชาการ ไม่แตกต่างกันในภาพรวมทั้ง 4 งาน และแยกแต่ละงาน ครูสายผู้สอนที่มี ประสบการณ์การสอนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อผลการบริหารงานวิชาการ ไม่แตกต่างกันในภาพ รวมทั้ง 4 งาน และแยกแต่ละงาน ผู้บริหารโรงเรียนและครูสายผู้สอนที่มีเพศต่างกัน มีความคิด เห็นต่อผลการบริหารงานวิชาการไม่แตกต่างกันในภาพรวมทั้ง 4 งาน และแยกแต่ละงาน ผู้ บริหารโรงเรียนและครูสายผู้สอนที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อผลการบริหารงานวิชาการใน ภาพรวมทั้ง 4 งาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบ ความคิดเห็นต่อผลการบริหารงานวิชาการแต่ละงานแล้ว พบว่า งานนิเทศการศึกษา มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกันส่วนอีก 3 งาน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้ บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่มีวุฒิทางการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อผลการบริหารงาน วิชาการไม่แตกต่างกันในภาพรวมทั้ง 4 งาน และแยกแต่ละงาน ข้อเสนอแนะ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี ควรให้การสนับสนุน ดังต่อไปนี้ 1. ควรจัดอบรมศึกษาดูงาน ให้แก่ผู้บริหารโรงเรียนและครูสายผู้สอนให้มีความรู้ความเข้า ใจในงานวิชาการด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง 2. จัดหาคู่มือและเอกสารประกอบหลักสูตรให้ครบถ้วนและจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์และ อุปกรณ์ให้เพียงพอ 3. จัดสรรและบรรจุอัตรากำลังครู ให้เพียงพอทั้งด้านปริมาณและวิชาเอกที่โรงเรียนต้องการ 4. ควรมีการติดตาม นิเทศ และประเมินผลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา--การบริหาร.--ไทย--อุบลราชธานีth_TH
dc.subjectโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา--การบริหาร.--ไทย--อุบลราชธานีth_TH
dc.titleการศึกษาผลการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนประถมศึกษาในโครงการ ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดอุบลราชธานีth_TH
dc.title.alternativeStudy of results of academic administration in primary school under the project of expanding basic education in Ubonratchathani Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this risearch was to study the results of academic administration work at the secondary level in primary schools according of the project to expand basic educational opportunities in UbonRatchathani, based on the following work areas: 1) curriculum and implementation 2) learning and instruction 3) educational supervision 4) testing and evaluation. This research also compares the results of academic administration work at the secondary education level based on the opinions of a sample group and the following basic variables: 1) position and role 2) size of school 3) administrative experience 4) teaching experience 5) gender 6) age 7) Educational qualification The sample group used in the research consisted of 251 primary school administrators and teachers from the project to expand basic educational opportunities. The research data was 1. The results of academic administration work at the secondary education level in primary schools according to the project to expand basic educational opportunities in Ubon Ratchathani demonstrated that according to the opinions of school administrators and teachers. The rsults of academic administration work in all four areas as a whole. Received a medium level rating. However, when considering each of the indevedual areas of acad administration. The research found that the results in the area of testing and evaluation received a high level rating, while in the areas of curriculum and implementation, education supervision. and learning and instruction received a medium level rating. 2. When comparing the opinious of government teachers which the researcher divided according to variables identified in this study. The findings showed that government teachers in different positions had different opinions regarding the results of academic administration work in the four areas as a whole which was statistically significant at the .05 level. However, when comparing each indivedual area. There were no significant differences in opinion regarding results in the area of testing and evaluation. Government teachers from defferent sizes of schools did not differ in opinions regarding the results of academic administration work in the four areas as a whole. However, when comparing each of the indivedual areas. There was a difference in opinions regarding results in the area of curriclum and implementation which were statistically significant at the .05 level. Government teachers with different levels of experience in administration, different levels of experience in teaching and different levels of education did not differ in opinion regardeng the results of academic administration work in the four areas as a whole. The government teachers.when divided by ago and gender had different opinions regarding the results of academic administration work in the four areas as a whole which were statistically significant at the .05 level. However, there were no significant differences in opinion regarding the results of educational supervesion. obtained by using questionnaires on academic administration at the secondary education level according to the project to expand basic educational opportunities in Ubon Ratchathani. The questionnaire consisted of 38 questions covering the following work areas: 1) curriculum and implementation 2) learning and instruction 3) educational supervision 4) testing and evaluation. The questionnaires used standard value estimation (Rating Scale) which include the total confidence of 9484. The data analysis was based on mean. standard deviation. The hypothesis was tested by using t-test and F-test.en_US
dc.contributor.coadvisorสุมาลี สังข์ศรีth_TH
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_47522.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.3 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons