Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8142
Title: การศึกษาผลการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนประถมศึกษาในโครงการ ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: Study of results of academic administration in primary school under the project of expanding basic education in Ubonratchathani Province
Authors: กล้า ทองขาว
ประทวน บุญรักษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุมาลี สังข์ศรี
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
โรงเรียนประถมศึกษา--การบริหาร.--ไทย--อุบลราชธานี
โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา--การบริหาร.--ไทย--อุบลราชธานี
Issue Date: 2538
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาผลการบริหารงานวิชาการ ระดับมัธยม-ศึกษา ของโรงเรียนประถมศึกษาในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดอุบลราชธานี ทั้ง 4 งาน คือ งานหลักสูตรและการนำไปใช้ งานการเรียนการสอน งานนิเทศการศึกษา และ งานวัดผลและประเมินผล และเปรียบเทียบผลการบริหารงานวิชาการระดับมัธยมศึกษาตามตัวแปร พื้นฐาน คือ ตำแหน่งหน้าที่ ขนาดของโรงเรียน ประสบการณ์การบริหาร ประสบการณ์การสอน เพศ อายุ และวุฒิทางการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนและครูสายงานผู้สอน ของโรงเรียนประถมศึกษาในโครงการขยายโกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 251 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบ ถามเกี่ยวกับ ผลการบริหารงานวิชาการระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา รวม 4 งาน คือ งานหลักสูตรและการนำไปใช้ งานการเรียนการสอน งานนิเทศการศึกษา และงานวัดผลและ ประเมินผล รวม 38 ข้อ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) โดยมี ความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .9484 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ( Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t - test และ F - test ข้อค้นพบจากการวิจัย 1. ผลการบริหารงานวิชาการระดับมัธยมศึกษา ของโรงเรียนประถมศึกษา ในโครงการ ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดอุบลราชธานี ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร โรงเรียนและครูสายผู้สอนในภาพรวมทั้ง 4 งาน มีผลการบริหารงานอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละผลการบริหารงานแต่ละด้านพบว่า ผลงานด้านการวัดผลและประเมินผลอยู่ในระดับมาก ผลงานด้านหลักสูตรและการนำไปใช้ ด้านการนิเทศการศึกษา และผลงานด้านการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง 2. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครู จำแนกตามตัวแปรที่ศึกษา พบว่า ข้า ราชการครูที่มีตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อผลการบริหารงานวิชาการรวมทั้ง 4 งาน แตก ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อผลการบริหารงานวิชา การแต่ละงานแล้ว พบว่างานด้านการวัดผลและประเมินผล มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนอีก ทั้ง 3 งานมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ข้าราชการครู ที่ปฏิบัติ หน้าที่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อผลการบริหารงานวิชาการในภาพรวมทั้ง 4 งาน ไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อผลการบริหารงานวิชาการแต่ละงานแล้ว พบ ว่า ผลการบริหารงานด้านหลักสูตรและการนำไปใช้ แตกต่างกันอย่างมีนัยคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอีกทั้ง 3 งานไม่แตกต่างกัน ประสบการณ์การบริหารต่างกัน มีความคิดเห็นต่อผลการ บริหารงานวิชาการ ไม่แตกต่างกันในภาพรวมทั้ง 4 งาน และแยกแต่ละงาน ครูสายผู้สอนที่มี ประสบการณ์การสอนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อผลการบริหารงานวิชาการ ไม่แตกต่างกันในภาพ รวมทั้ง 4 งาน และแยกแต่ละงาน ผู้บริหารโรงเรียนและครูสายผู้สอนที่มีเพศต่างกัน มีความคิด เห็นต่อผลการบริหารงานวิชาการไม่แตกต่างกันในภาพรวมทั้ง 4 งาน และแยกแต่ละงาน ผู้ บริหารโรงเรียนและครูสายผู้สอนที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อผลการบริหารงานวิชาการใน ภาพรวมทั้ง 4 งาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบ ความคิดเห็นต่อผลการบริหารงานวิชาการแต่ละงานแล้ว พบว่า งานนิเทศการศึกษา มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกันส่วนอีก 3 งาน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้ บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่มีวุฒิทางการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อผลการบริหารงาน วิชาการไม่แตกต่างกันในภาพรวมทั้ง 4 งาน และแยกแต่ละงาน ข้อเสนอแนะ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี ควรให้การสนับสนุน ดังต่อไปนี้ 1. ควรจัดอบรมศึกษาดูงาน ให้แก่ผู้บริหารโรงเรียนและครูสายผู้สอนให้มีความรู้ความเข้า ใจในงานวิชาการด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง 2. จัดหาคู่มือและเอกสารประกอบหลักสูตรให้ครบถ้วนและจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์และ อุปกรณ์ให้เพียงพอ 3. จัดสรรและบรรจุอัตรากำลังครู ให้เพียงพอทั้งด้านปริมาณและวิชาเอกที่โรงเรียนต้องการ 4. ควรมีการติดตาม นิเทศ และประเมินผลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2538
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8142
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_47522.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.3 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons