กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8146
ชื่อเรื่อง: การประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนปรางค์ทองวิทยา จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of school-based science curriculum at the upper secondary level of Prangthong Wittaya School in Nakhon Ratchasima
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณ์ดี แสงประทีปทอง
ดวงฤทัย หวังประสพกลาง, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การประเมินหลักสูตร
การประเมินผลทางการศึกษา
วิทยาศาสตร์--การวัดผล
การศึกษาอิสระ--การวัดและประเมินผลการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ประเมินความพร้อมด้านปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนปรางค์ทองวิทยา จังหวัดนครราชสีมา (2) ประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการดำเนินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา และ (3) ประเมินผลผลิตของหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และนักเรียน รวมจำนวนทั้งสี้น 167 คน จาก โรงเรียนปรางค์ทองวิทยา จังหวัดนครราชสีมา นักเรียนได้มาโดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการเรียน การสอนตามหลักสูตรสถานศึกษาและแบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะหข้อมูล ใช้ค่าความ ถี่ ค่าร้อยละ คำเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เนื้อหาผลการประเมิน ปรากฏว่า (1) เกี่ยวกับความพร้อมด้านปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตรสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียนมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันในภาพรวมว่ามีความพร้อมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน (2) เกี่ยวกับความเหมาะสมด้านกระบวนการดำเนินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียนมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันในภาพรวมว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และ (3) ผลการประเมินผลผลิตของหลักสูตรสถานศึกษา ได้แก่ ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (O-net) ค่าเฉลี่ยระดับโรงเรียนต่ำกว่าระดับประเทศ ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลการสอบของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ในภาพรวมนักเรียนมีผลสัมฤทธิทางการเรียนตั้งแต่ระดับดีขึ้นไปร้อยละ 54.58 ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางวิทยาศาสตร์ และผลการประเมิน ทักษะทางการเรียน (การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน) พบว่านักเรียนมีผลการประเมินตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป ผ่านเกณฑ์การประเมิน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8146
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_146424.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons