Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8150
Title: | การพัฒนาระบบบริหารงานพัสดุของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Other Titles: | Developing the inventory management system of Sukhothai Thammathirat Open University |
Authors: | เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ พจมาลย์ เพิ่มพูลโชคคณา, 2499- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วิไล วัฒนดำรงค์กิจ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ การจัดการวัสดุ การจัดซื้อของทางราชการ--ไทย |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสำเร็จของการบริหารงานพัสดุของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อนโอกาสและข้อจำกัดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริหารงานพัสดุของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบบริหารงานพัสดุของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านการพัสดุของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานด้านการพัสดุ 41 คน ผู้ทำหน้าที่กรรมการตามระเบียบพัสดุ 106 คน ผู้มีอำนาจอนุมัติการดำเนินการด้านการพัสดุ 17 คนรวม 164 คน โดยการศึกษาข้อมูลด้านเอกสาร แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ในส่วนของการวิเคราะห์เชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์การถดถอย ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบบริหารงานพัสดุของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยตัวแปรอิสระของระบบบริหารงานพัสดุ เรียงตาม ลำดับได้แก่ ด้านความถูกต้อง ความโปร่งใส กฎระเบียบ ความรวดเร็วในการให้บริการ ความคุ้มค่า และระบบบริหารงานคล่องตัว โดยเมื่อวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการบริหารงานพัสดุ พบว่ามีระดับความสำเร็จร้อยละ 64 โดยมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่สำคัญ คือ จุดแข็งด้านความรู้ของเจ้าหน้าที่พัสดุในเรื่องกฎระเบียบ และจุดอ่อนด้านการขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปฏิบัติงาน รวมทั้งมีโอกาสและข้อจำกัดที่สำคัญ คือ โอกาสด้านการมีระเบียบว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่ พ.ศ. 2549 ของทางราชการใช้ในการปฏิบัติงานและข้อจำกัดด้านการปฏิบัติตามระเบียบพัสดุของทางราชการ ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทางบวกกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบบริหารงานพัสดุเรียงตามลำดับได้แก่ ปัจจัยด้านความถูกต้อง ความคุ้มค่า ระบบบริหารงานคล่องตัว และความโปร่งใสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรนำตัวแบบด้านการบริหารงานพัสดุแนวใหม่ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบบริหารงานพัสดุของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ต่อไป รวมทั้งควรมีการจัดทำระเบียบด้านการพัสดุของมหาวิทยาลัยเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฎิบัติงานมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบบริหารงานพัสดุของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8150 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License