Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/818
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าสถานีอนามัยจังหวัดอุทัยธานี
Other Titles: Factors relating to performance of chiefs of health centers in Uthaithance Province
Authors: เยาวภา ปิ่นทุพันธ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ขวัญชัย วิศิษฐานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นพดล ขยันการนาวี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --วิทยานิพนธ
สถานีอนามัย--การบริหาร
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลและภาระงาน (2) ปัจจัยด้านการบริหารทรัพยากรสาธารณสุข (3) ปัจจัยด้านความพึงพอใจในงานที่มีความสัมพันธ์กับ และ (4) ผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าสถานีอนามัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางในผู้ทำหน้าที่หัวหน้าสถานีอนามัยทุกคนในจังหวัดอุทัยธานี จำนวน 90 คน เครึ่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบให้ข้อมูลตามความเป็นจริงเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลและภาระงาน และแบบมาตราส่วนประมาณค่าให้ประเมินตนเองต่อปัจจัยด้านการบริหารทรัพยากรสาธารณสุขปัจจัยจูงใจและปัจจัยคํ้าจุนของปัจจัยด้านความพึงพอใจในงาน ซึ่งมีค่าความเที่ยง 0.95 0.89 และ 0.87 ตามลำดับ และแบบบันทึกคะแนนผลการปฏิบัติงานของสถานีอนามัยในรอบปีงบประมาณ 2550 การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการ โดยผ่านทางสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และได้แบบสอบถามกลับคืนร้อยละ 100 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา แสดงการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ยของข้อมูล และใช้การทดสอบไคว์-สแคว์ หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ศึกษากับผลการปฏิบัติงาน ผลการวิจัยพบว่า (1) หัวหน้าสถานีอนามัยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (61.1%) อายุเฉลี่ย 41.7 ปี สถานภาพสมรสคู่ (73.3%) จบปริญญาตรี (70%) อายุราชการเฉลี่ย 20.1 ปี ดำรงตำแหน่งเฉลี่ย 8.9 ปี และเคยได้รับการอบรมด้านการบริหาร (54.4%) จำนวนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเฉลี่ย 2.6 คน และจำนวนอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านเฉลี่ย 22.5 คน (2) หัวหน้าสถานีอนามัยส่วนใหญ่มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารทรัพยากรโดยรวมและรายด้านโดยเฉลี่ย ในระดับมาก แต่ได้รับการสนับสนุนและติดตามทรัพยากรด้านอื่น ๆ (ยกเว้นด้านเวชกัณฑ์) โดยเฉลี่ยในระดับปานกลาง (3) หัวหน้าสถานีอนามัยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในงานโดยรวมเฉลี่ยในระดับมาก โดยมีปัจจัยจูงใจระดับมาก จากการได้รับการยอมรับนับถือ ลักษณะงาน ความรับผิดชอบ และความสำเร็จในงาน และในระดับปานกลางจากความก้าวหน้าในงาน ได้รับปัจจัยคํ้าจุนในระดับมาก ในด้านการปกครองบังคับบัญชา นโยบายและการบริหาร และความร่วมมือจากประชาชนและในระดับปานกลาง จากสัมพันธภาพในการทำงาน สภาพการทำงานและความมั่นคงในงาน (4) หัวหน้า สถานีอนามัย ร้อยละ 42.2 มีผลการปฏิบัติงานในระดับดี ผลการทดสอบไคว์-สแคว์ พบว่า หัวหน้าสถานีอนามัยที่มีความแตกต่างกัน ตามระดับการศึกษา ความรู้ความสามารถในการบริหารทรัพยากร การได้รับการยอมรับนับถือและมีความสำเร็จในงาน และได้รับการปกครองบังคับบัญชา นโยบายและการบริหาร และความร่วมมือจากประชาชน จะมีผลการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อค้นพบจากงานวิจัยเกี่ยวกับการได้รับปัจจัยค้ำจุนในระดับปานกลาง บอกถึงความต้องการได้รับการ เอาใจใส่ดูแลมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับสภาพการทำงาน ผลตอบแทน และความมั่นคงในงาน เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน อันจะส่งเสริมต่อความพึงพอใจในงานของหัวหน้าสถานีอนามัย
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/818
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
110359.pdfเอกสารฉบับเต็ม5 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons