Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/821
Title: | การปรับใช้กฎหมายของศาลไทยในการวินิจฉัยความรับผิดชอบทางอาญาของนิติบุคคล |
Other Titles: | The application of law of Thai courts in criminal liability of juristic persons |
Authors: | ลาวัลย์ หอนพรัตน์ ตระการ ด่านกุล, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ภาณุมาศ ขัดเงางาม |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--วิทยานิพนธ์ ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล การบังคับใช้กฎหมาย--ไทย |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานิติวิธีกฎหมายระบบคอมมอนลอว์ ซีวิลลอว์ และหลักการของกฎหมายอาญา ศึกษาการปรับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของนิติบุคคลของศาลภายใต้กฎหมายระบบคอมมอนลอว์ ได้แก่ ประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ระบบซีวิลลอว์ ประเทศฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ศึกษาการปรับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลของศาลไทย ศึกษาสภาพบังคับทางอาญาสําหรับนิติบุคคลของประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ประเทศฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี รวมทั้งประเทศอื่นๆ ในภาคพื้นยุโรป และ ประเทศไทย และ เสนอแนะผลการศึกษาในการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาเพื่อให้ครอบคลุมถึงนิติบุคคลและมีสภาพบังคับทางอาญาเป็นการเฉพาะสําหรับนิติบุคคล วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยทางเอกสาร โดยรวบรวมค้นคว้าข้อมูล จากหนังสือ วารสาร บทความ รายงานทางกฎหมาย คําพิพากษาของศาลฎีกา ข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องของไทยและต่างประเทศ รวมถึงสารนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนตัวบทกฎหมายทั้งของไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลของศาลไทยยังขัดกับหลักความชอบของกฎหมายอาญา และไม่สอดคล้องกับนิติวิธีกฎหมายระบบซีวิลลอว์ และสภาพบังคับทางอาญาตามมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ยังไม่เหมาะสมที่จะนํามาใช้ลงโทษนิติบุคคล ข้อเสนอแนะจากงานวิทยานิพนธ์นี้คือ ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ในส่วนภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป ลักษณะที่ 1 บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป หมวด 1 บทนิยาม เพื่อให้คํานิยามหรือความหมายของคําว่า “ผู้ใด” และ “การแสดงเจตนา” ครอบคลุมถึงนิติบุคคล และ หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย ส่วนที่ 1 โทษ เพื่อให้มีสภาพบังคับทางอาญาเป็นการเฉพาะสําหรับ นิติบุคคล |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/821 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib158656.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License