กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8212
ชื่อเรื่อง: ส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการซื้อชุดชั้นในของสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing mix which influence woman's buying of lingerie in Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุทธนา ธรรมเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
มัณฑนรัตน์ คงช่วย, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
ชุดชั้นใน
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการซื้อชุดชั้นในของสตรีในเขตกรุงเทพมหานกร ซึ่งประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาดของชุดชั้นในสตรี กับลักษณะทางประชากรศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และระดับรายได้ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิง อายุตั้งแต่ 17-45 ปี จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของผู้บริ โภคเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการซื้อชุดชั้นในของสตรีในเขต กรุงเทพมหานครมากที่สุดคือ การออกแบบและสีของชุดชั้นใน โดยชุดชั้นในที่มีการออกแบบโดยมีฐานโครงรองรับเต้านม แต่ไม่มีวัสดุเสริมทรง ตัดเย็บ ด้วยผ้าสีพื้น เช่น สีขาว สีชมพู และสีครีม รองลงมา คือ ตราสินค้า และความสบายในการสวมใส่ ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความจงรักภักดีในตรายี่ห้อของชุดชั้นในที่ใช้อยู่ โดยยี่ห้อ Wacoal เป็นยี่ห้อที่มีผู้บริโภคเลือกใช้มากที่สุด ในด้านความสบายในการสวมใส่ ซ่อมมีการตัดเย็บและเนื้อผ้าที่นำมาใช้ในการตัดเย็บมีคุณภาพดี ปัจจัยรองลงมา คือส่วนลดสำหรับสมาชิก เมื่อทราบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความจงรักภักดีในตราสินค้า ทำให้มีการซื้อซ้ำสินค้าในยี่ห้อเดิม ๆ จึงต้องการได้รับส่วนลดจากความจงรักภักดีนั้น รองลงมาในเรื่องของคุณสมบัติในการแก้ไขปัญหารูปร่างเป็นการเน้นจุดเด่น อำพราง จุดด้อยบนสรีระของผู้บริโภคซึ่งมีความแตกต่างกันออกไป ปัจจัยที่ไม่ควรลดความสำคัญคือ ราคา ชุดชั้นในที่อยู่ในระดับราคาที่เหมาะสมกับผู้บริโภคในกลุ่มที่กำลังศึกษา ถือระดับราคา ตั้งแต่ 201 - 500 บาทซึ่งเป็นราคาปานกลาง แต่ต้องมั่นใจว่าคุณภาพของสินค้าคุ้มค่ากับมูลค่าของเงินที่ผู้บริโภคต้องจ่าย เพราะผู้บริโภคมีระดับการศึกษาที่สูงขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8212
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_81535.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons