กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8216
ชื่อเรื่อง: | ความผูกพันต่อองค์การของตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Organizational commitment of The Border Patrol Police Subdivision 44 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รังสรรค์ ประเสริฐศรี สิทธิพงษ์ ศรีกุลบุตร, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี ความผูกพันต่อองค์การ การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรระหว่างข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร และข้าราชการตำรวจชั้นประทวนในพื้นที่กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 และ (3)เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การของตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 ประกอบด้วยข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร 13 คน ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน 303 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การของตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 แบบสอบถามมีค่าความเชื่อถือได้ตั้งแต่ 7350.934 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบื่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเที่ยบค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มอิสระ และการวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ ผลการวิจัย พบว่า (1) ความผูกพันต่อองค์การของตำรวจตระเวนชายแดน ในพื้นที่ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ความผูกพันต่อองค์การระหว่างข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร และ ข้าราชการดำรวจชั้นประทวนในพื้นที่กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 ในภาพรวม มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรมีความผูกพันต่อองค์การในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และข้าราชการตำราจชั้นประทวนมีความผูกพันต่อองค์การในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) ปัญหาที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 ที่จำเป็น ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ได้แก่ ตำรวจตระเวนชายแคนที่ 44 ทรัพยากรไม่เพียงพอ ผู้บังคับบัญชาห่างเหิน แนวทางเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การของตำรวจตระเวนชายแคนที่ 44 ยกตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาควรเอาใจใส่ผู้ใด้บังคับบัญชาให้มากขึ้น ผู้บังคับบัญชาควรจัดสรรทรัพยากรไห้เพียงพอแก่การทำงาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8216 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
futtext_127693.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.6 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License