กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8233
ชื่อเรื่อง: | ส่วนประสมการตลาดของโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) สาขารังสิต |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Marketing mix of School of Language and Culture, Technology Promotion Association (Thailand-Japan) Rangsit Branch |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ยุทธนา ธรรมเจริญ อังคณา สิงห์ทอน, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)--การตลาด การศึกษาอิสระ--การตลาด |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของลูกค้าที่เรียนภาษาจาก โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) สาขารังสิต (2) พฤติกรรม ของลูกค้าในการตัดสินใจเลือกเรียนภาษาของโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) สาขารังสิต และ (3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดของโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) สาขารังสิต การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ ลูกค้าที่เรียนภาษากับโรงเรียนภาษาฯ ส.ส.ท.สาขารังสิต ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2556 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวนทั้งสิ้น 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการศึกษาพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุต่ำกว่า 20 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา รายได้ต่อเดือนต่ำว่า 5,000 บาท (2) พฤติกรรมของลูกค้าส่วนใหญ่เลือกเรียนภาษาญี่ปุ่นเพื่อใช้ในการศึกษาต่อและได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการสอนภาษาจากเว็บไซต์ของโรงเรียน ตัดสินใจเลือกเรียนภาษาด้วยตนเอง โดยเลือกชำระค่าเล่าเรียนด้วยเงินสด เลือกเรียนวันอาทิตย์ (ช่วงบ่าย) จำนวน 3-4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และมีความสนใจเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมรวมทั้งแนะนำให้เพื่อนหรือคนใกล้ชิดมาเรียนภาษาด้วย และ (3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดตามความคิดเห็นของลูกค้าที่ทำให้เลือกเรียนที่นี่คือ ปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคลากร ด้านราคา ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8233 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_132850.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.73 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License