กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/823
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาการกันผู้ต้องหาเป็นพยานในคดีอาญา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problem of considering the accused person as a witness in a criminal case |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลาวัลย์ หอนพรัตน์ ปพัฒน์ วสุธวัช, 2510 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ชนินาฏ ลีดส์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--วิทยานิพนธ์ พยานหลักฐาน |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการกันผู้ต้องหาเป็นพยาน ว่ามีหลักเกณฑ์การใช้อำนาจและดุลพินิจในการกันผู้ต้องหาเป็นพยานอย่างไร รวมทั้งวิเคราะห์หาแนวทางที่เหมาะสมในการกันผู้ต้องหาเป็นพยาน โดยนำคดีฆาตกรรม นางสยามลลาภ ก่อเกียรติ มาเป็นข้อมูลในการศึกษา การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารคำพิพากษา ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ระเบียบ คำสั่งที่เกี่ยวข้อง วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ บทความ ตำรา หนังสือต่างๆ รวมทั้งข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งของประเทศไทย และต่างประเทศนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่ผลการวิจัย ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การกันผู้ต้องหาเป็นพยานแม้นจะมองเป็นการขัดหลักความยุติธรรม หลักสิทธิและเสรีภาพของประชาชน แต่เพื่อผลประโยชน์ส่วนร่วมในการใช้ผู้ต้องหาที่กันเป็นพยาน มาเป็นพยานหลักฐานยืนยันตัวการสำคัญที่กระทำความผิด จึงมีความจำเป็นเพราะ เป็นเครื่องมือในการปราบปรามอาชญากรรมอยางหนึ่ง และยังไม่มีวิธีการที่ดีกวานี้ ส่วนการกันผู้ต้องหาเป็นพยาน การพิจารณาต้องผ่านขั้นตอนทั้งพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ บางครั้งอาจเกิดความเห็นแตกต่าง จึงสมควรให้หน่วยงานทั้งสองทำงานร่วมกันเทียบเคียงกับการสอบสวนร่วมกันในสำนวนชันสูตรพลิกศพคดีวิสามัญฆาตกรรม นอกจากนี้การรับฟัง พยานหลักฐานของผู้ต้องหาที่กันเป็นพยานมีส่วนสำคัญ การสอบสวนปากคำผู้ต้องหาที่พนักงาน สอบสวนคาดว่าจะกันเป็นพยาน ควรจัดการสอบสวนปากคำลักษณะทีมสหวิชาชีพ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในพยานหลักฐานนั้น และแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาของกฎหมาย เพื่อให้วิธีการกันผู้ต้องหาเป็นพยานเกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อันเป็นการคุ้มครองสิทธิผู้ที่เกี่ยวข้องให้เกิดประโยชน์ต่อไป |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/823 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib134792.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.73 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License