Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8242
Title: | ความคิดเห็นของผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีต่อส่วนประสมการตลาดผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จในจังหวัดลำพูน |
Other Titles: | Opinion of construction contractors towards marketing mix factors of ready-mixed concrete in Lampoon Province |
Authors: | ยุทธนา ธรรมเจริญ ธัญพิชชา จันทร์หาญ, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี คอนกรีตผสมเสร็จ--การตลาด การศึกษาอิสระ--การตลาด |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสำคัญตามความคิดเห็นของ ผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีต่อส่วนประสมการตลาดผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จในจังหวัดลำพูน และ (2) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของส่วนประสมการตลาดตามความคิดเห็นของผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ซื้อผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จจำแนกตามตำแหน่ง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ ผู้รับเหมาก่อสร้างที่จดทะเบียนนิติบุคคลใน จังหวัดลำพูน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้จำนวนทั้งสิ้น 180 คน เลือกกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุ 50-59 ปีการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นเจ้าของหรือกรรมการผู้จัดการ จัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ทุนจดทะเบียน 1-10 ล้านบาท จัดตั้งมาแล้ว 6-10 ปี มีจำนวนพนักงานไม่เกิน 50 คน รับเหมาก่อสร้าง 11-20 โครงการต่อปี มูลค่างานก่อสร้าง 5 แสน-1ล้านบาทต่อโครงการผู้มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์คือ เจ้าของหรือกรรมการ ผู้จัดการ เลือกซื้อสินค้าจากบริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด (CPAC) จังหวัดลำพูน (1) พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ด้านกระบวนการผลิตภัณฑ์ราคา บุคคลหรือพนักงาน การจัดจำหน่าย ส่งเสริมการตลาด การสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ตามลำดับ และ (2) พบว่า ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของกิจการแต่ละตำแหน่งให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาด ดังนี้ ด้านราคาและด้านกระบวนการ ทุกตำแหน่งให้ความสำคัญในระดับมาก ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านบุคคลหรือพนักงาน ทุกตำแหน่งให้ความสำคัญในระดับมากยกเว้นวิศวกรให้ความสำคัญในระดับมากที่สุด ด้านการจัดจำหน่ายและด้านบุคคลหรือพนักงาน ทุกตำแหน่งให้ความสำคัญในระดับปานกลาง ยกเว้นวิศวกรให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก และด้านการส่งเสริมการตลาด ทุกตำแหน่งให้ความสำคัญในระดับปานกลาง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8242 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltex_132860.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License