กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/825
ชื่อเรื่อง: | มาตรการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยแทนโทษจำคุก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Measures to secure the enforcement of the sentence imposed instead of imprisonment |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิกรณ์ รักษ์ปวงชน ปิยะบุตร บุญธรรม, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วิมาน กฤตพลวิมาน |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--วิทยานิพนธ์ วิธีการเพื่อความปลอดภัย กระบวนการกำหนดโทษคดีอาญา การลงโทษ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่องมาตรการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยแทนโทษจําคุก มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวคิดและทฤษฎี ตลอดจนหลักเกณฑ์ทางกฎหมายของการใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยในประเทศ และต่างประเทศรวมทั้งทําการศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎีและหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย ว่าด้วยวิธีการเพื่อความปลอดภัยของไทยกับของต่างประเทศเพื่อเสนอแนะแนวทางในการใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัย โดยนํามาใช้กับระบบกฎหมายของประเทศไทย งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยด้านเอกสาร และตําราทางกฎหมาย ตลอดจนศึกษาค้นคว้าเอกสารในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยทั้ง ของประเทศไทยและของต่างประเทศ โดยการศึกษาวิธีการเพื่อความปลอดภัยของประเทศสาธารณรัฐ ฝรั่งเศส ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศญี่ปุ่น เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายของประเทศไทยให้สอดคล้องกับสภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยมุ่งเน้นไปที่การบังคับ โทษจําคุกซึ่งถือว่าเป็นมาตรการในการปราบปรามผู้กระทําความผิดมากกว่าที่จะบังคับใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยซึ่งเป็นมาตรการในการป้องกันการกระทําความผิดและนอกจากนี้ยังพบว่าประมวลกฎหมายอาญาของไทยในหมวดว่าด้วยวิธีการเพื่อความปลอดภัยไม่มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน ทําให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่บังคับใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยอย่างจริงจัง นํามาซึ่งปัญหาความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจําดังนั้น เพื่อให้การแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงเห็นควรนําวิธีการเพื่อความปลอดภัยซึ่งเป็นอีกหนึ่งมาตรการในการเลี่ยงโทษจําคุกและเป็นมาตรการในการป้องกันการกระทํา ความผิด โดยเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาตั้งแต่มาตรา 39 - 50 มาตรา 194 และ มาตรา 196 ให้มีความทันสมัย ชัดเจน และสามารถบังคับใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมซึ่งหากหน่วยงานของรัฐ ในกระบวนการยุติธรรมสามารถนํามาตรการ วิธีการเพื่อความปลอดภัยที่ได้รับการแก้ไขมาบังคับใช้ควบคู่กับมาตรการในการปราบปรามผู้กระทําความผิด กล่าวคือ การบังคับโทษจําคุก อย่างเป็นระบบได้ สัดส่วนสอดคล้องต้องกันตามหลักความสมควรแก่่เหตุ ปัญหาอาชญากรรมในสังคมที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี ก็จะสามารถควบคุมได้ และมีปริมาณลดลงอันจะส่งผลให้กระบวนการยุติธรรมทางอาญา มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/825 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib150150.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.5 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License