กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/828
ชื่อเรื่อง: | การใช้วิธีการควบคุมผู้กระทำผิดด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ (EM) แทนการจำคุกในเรือนจำ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Use of electronic monitoring (EM) of Offenders in Substitution of Imprisonment |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สราวุธ ปิติยาศักดิ์ รณกฤษ ศรีเปรมหทัย, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ชนินาฏ ลีดส์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--วิทยานิพนธ์ ผู้ต้องหา การควบคุมตัวบุคคล เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่องการใช้วิธีการควบคุมผู้กระทําผิดด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ (EM) แทนการจําคุกใน เรือนจํา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทฤษฎีและรูปแบบการลงโทษ และหลักการคุมขังผู้กระทําผิดโดยไม่ใช้เรือนจํา 2) วิเคราะห์แนวคิดหลักการ และบทบัญญัติกฎหมายต่างประเทศว่าด้วยการควบคุมผู้กระทําผิดโดยใช้เครื่องมือ EM 3) วิเคราะห์การควบคุมผู้กระทําผิดด้วยเครื่องมือ EM ในกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ และ 4) หาแนวทางที่เหมาะสมปรับปรุงกฎหมายและออกแบบระเบียบของกระทรวงยุติธรรมไทยเพื่อนําเครื่องมือ EM มาใช้แทนการจําคุก อย่างเต็มรูปแบบ งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย ด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมบทบัญญัติเกี่ยวกับ การควบคุมผู้กระทําผิดด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในประมวลกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตํารา และหนังสือของไทยและ ต่างประเทศ เมื่อรวบรวมเสร็จจะวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายไทยกับต่างประเทศ ทั้งในทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง องค์ประกอบของกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อจัดทําระเบียบกระทรวงยุติธรรมในการนําเครื่องมือ EM มา ใช้แทนการจําคุก Hผลการวิจัยพบว่า 1) เครื่องมือ EM เป็นหนึ่งในทางเลือกของกระบวนการยุติธรรม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อฟื้นฟูผู้กระทําผิดเป็นสําคัญ 2) การใช้เครื่องมือ EM ในหลายประเทศทําให้ค่าใช้จ่ายลดลงกว่าวิธีการคุมขัง ผู้กระทําผิดในเรือนจํา และก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่าต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 3) การควบคุมดูแลจากชุมชน โดยใช้เครื่องมือ EM นี้บ่งชี้ถึงความรับผิดชอบของสังคมต่อการพัฒนาอย่างยังยืน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากความแออัดในเรือนจํา ลดการถูกตีตราจากสังคมเมื่อถูกจําคุก ทําให้ผู้กระทําผิดได้พัฒนาศักยภาพของตัวเองโดยการประกอบอาชีพ ลดภาระของรัฐบาล สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว ลดความตึงเครียดของ ผู้กระทําผิดจากการถูกคุมขังในเรือนจํา สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเจ้าหน้าที่เรือนจํา และคืนความสงบสุขปลอดภัย ให้กับชุมชนและสังคม 4) ผลกระทบในเชิงลบของเครื่องมือ EM ก็ยังมีผู้คัดค้านหยิบยกขึ้นมา เช่น ด้านงบประมาณ เครื่องมือ และด้านสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล เป็นต้น 5) การใช้งานเครื่องมือ EM ประเทศต่างๆ ทั่วโลกนํามาใช้ได้ใน 3 ขั้นตอน ได้แก่ก่อนการพิจารณาคดี (Pre-trial Monitoring) ภายหลังการพิจารณาคดี (Post-trial Monitoring) และภายหลัง จําคุกมาระยะหนึ่ง (Post-imprisonment Monitoring)อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้มีความแตกต่างจากการศึกษาเกี่ยวกับเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในอดีตที่ผ่านมา ที่ศึกษาประเด็นต่างๆ เช่น วิเคราะห์การนําเครื่องมือ EM มาใช้กับการคุมประพฤติผู้กระทําผิดนอกเรือนจํา โดยศึกษาการควบคุมผู้กระทําผิดด้วยอุปกรณ์ EM ของต่างประเทศ แง่มุมทาง กฎหมาย ปัญหาและอุปสรรค ความเป็นไปได้หากนําเครื่องมือ EM มาใช้ในประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบจากผลการศึกษา มีข้อเสนอแนะ 2 ส่วน คือ 1) เสนอแนวทางแก้ไขปัญหา/อุปสรรค โดยปรับปรุงกฎหมายและจัดทําระเบียบ กระทรวงยุติธรรมว่าด้วยแนวทางการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เป็นเงื่อนไขอื่นๆ แทนการจําคุกในเรือนจํา เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้นในการบังคับใช้เครื่องมือ และ 2) เสนอแนวทางปฏิบัติรวมถึงการวางแผนและกำหนดเป้าหมาย ที่ชัดเจน เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายของการใช้เครื่องมือนี้ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 255 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/828 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib151535.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 30.16 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License