Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/832
Title: | การประเมินความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคเด็กปฐมวัยของมารดา : กรณีศึกษา "ไข้หวัดใหญ่ 2009" ในเขตเทศบาลตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี |
Other Titles: | A knowledge and practice assessment of discese prevention for pre-school children by their mothers : a case study of "Influenza 2009" Bang Muang Municipality Bangyai Nonthaburi Province |
Authors: | โกวิน วิวัฒนพงศ์พันธ์ นาฎน้อย ศรีแสง, 2509- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุรเดช ประดิษฐบาทุกา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ไข้หวัดใหญ่--การป้องกันและควบคุม |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของมารดาเด็กปฐมวัยในเขตเทศบาลตำบลบางม่วง (2) ระดับความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยของมารดาเกี่ยวกับโรค “ไข้หวัดใหญ่ 2009” ในเขตเทศบาลตำบลบางม่วง และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและระดับความรู้ของมารดากับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยของมารดาเกี่ยวกับโรค “ไข้หวัดใหญ่ 2009" ในเขตเทศบาลตำบลบางม่วง ประชากรที่ศึกษา คือ มารดาเด็กปฐมวัยซึ่งมีอายุระหว่าง 5 - 6 ปี และศึกษาอยู่ชั้นอบุบาลปีที่ 2 ในโรงเรียนเขตเทศบาล จำนวน 170 คน โดยศึกษากับทุกหน่วยประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวัดระดับความรู้ที่มีค่าความเที่ยง 0.657 วัดระดับพฤติกรรมในภาวะปกดีและภาวะเจ็บป่วย ที่มีค่าความเที่ยง 0.845 และ 0.669 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ไคสแควร์ และสมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงทั้งหมด เป็นมารดาโดยกำเนิด ร้อยละ 81.80 อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 47.10 การศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ร้อยละ 28.80 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 28.80 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 11,782.82 บาท ส่วนใหญ่มีรายได้พอดีกับรายจ่าย ร้อยละ 42.40 (2) มีความรู้เรื่องโรคระดับปานกลาง และพฤติกรรมในภาวะปกดีและในภาวะเจ็บป่วย ระดับดี (3) ปัจจัยส่วนบุคคล คือ ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในภาวะเจ็บป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิดีที่ p-value < 0.05 และระดับความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมในภาวะปกดีโดยรวมและรายด้าน กับด้านส่งเสริมสุขภาพ ด้านป้องกันการระบาดของโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.249, 0.212 และ 0.257 กับด้านการป้องกันความรุนแรงของโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สัทสัมพันธ์ เท่ากับ 0.174 แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในภาวะเจ็บป่วยทั้งโดยรวมและรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) ปัญหาอุปสรรค ส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารเรื่องโรคทางโทรทัศน์เป็นลำดับที่ 1 ร้อยละ 97.10 ไม่เคยได้รับข่าวสารเรื่องโรค ร้อยละ 2.90 มีความต้องการฉีดวัคซีน ร้อยละ 88.20 และร้อยละ 11.80 ไม่ต้องการฉีดเพราะไม่ทราบสถานที่ฉีด กลัวอันตรายจากวัคซีนจึงมีข้อเสนอแนะว่าควรเร่งให้ความรู้เรื่องโรค “ไข้หวัดใหญ่ 2009” ที่ครอบคลุมทุกด้านอย่างต่อเนื่อง และรณรงค์สร้างเสรีทัศนคติที่ถูกด้อง และเหมาะสมแก่ประชาชน ผ่านช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ และที่ดีที่สุด คือ โทรทัศน์ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/832 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
118473.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License