กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8332
ชื่อเรื่อง: อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The power and function prosecuter
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุจินตนา ชุมวิสูตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
กรพิสิษฐ ชูศรี, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
อัยการ
การทำงาน
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีวัตถุประสงค์ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาด้านการดำเนินกระบวนยุติธรรมทางอาญาที่ล่าช้า โดยสาเหตุส่วนหนึ่งของปัญหาเกิดขึ้นจากการกำหนดอำนาจหน้าที่ของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมที่ขาดความเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ ผู้จัดทำจึงได้ ต่อไป ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอำนาจของพนักงานอัยการ โดยได้ศึกษาเปรียบเทียบอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการไทยกับพนักงานอัยการสากล ในด้านต่าง ๆ โดยนําผลการศึกษามาวิเคราะห์ถึงอุปสรรค และปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการของประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสารวิชาการต่าง ๆ บทความ ตำราเรียน งานวิจัย รวมทั้งการศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการไทยกับพนักงานอัยการสากล ซึ่งจะนำมาสู่การแก้ไขปรับปรุง เกี่ยวกับเรื่องอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการไทย ผลการศึกษาพบว่า พนักงานอัยการในต่างประเทศสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างอิสระไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลใด ๆ ทำให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่มีประสิทธิภาพ แต่พนักงานอัยการไทยแม้จะวางหลักการให้มีความเป็นอิสระในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติแล้วยังคงถูกแทรกแซงจากภายนอก ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียกับกระบวนการยุติธรรมของไทย จึงเห็นควรแก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและพระราชบัญญัติอัยการของไทยในส่วนที่ยังมีข้อบกพร่องอยู่ เช่น เรืองอำนาจสอบสวนของพนักงานอัยการ ซึ่งถูกจํากัดให้เป็นเพียงอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองและพนักงานสอบสวนเท่านั้น รวมทั้งบทกฎหมายที่เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจในการสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการควรต้องมีบทกฎหมายที่บัญญัติหรือรองรับการใช้ดุลพินิจดังกล่าวของพนักงานอัยการไว้อย่างชัดแจ้งเพื่อเป็นหลักประกันความยุติธรรมแก่ประชาชนด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8332
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons