กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8342
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่ทำการไปรษณีย์ จังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Satisfaction of service recipients on services at Post Office Phuket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัญชลี คณากูล, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ที่ทำการไปรษณีย์ จังหวัดภูเก็ต--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
ความพอใจของผู้ใช้บริการ
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการให้บริการจากที่ทำการไปรษณีย์ จังหวัดภูเก็ต (2) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการให้บริการจากที่ทำการไปรษณีย์ จังหวัดภูเก็ต จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการของที่ทำการไปรษณีย์ จังหวัดภูเก็ต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มารับบริการจากที่ทำการไปรษณีย์ จังหวัดภูเก็ต รวมทั้งสิ้นจำนวน 390 คน โดยคำนวณจากสูตรของยามาเน่ จากประชากรทั้งสิ้น ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการ ทดสอบค่าเอฟ ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจจากการใช้บริการที่ทำการไปรษณีย์ จังหวัดภูเก็ต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ความพึงพอใจด้านการให้บริการอย่างเสมอภาค มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ขณะที่ความพึงพอใจในด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (2) เมื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการจากที่ทำการไปรษณีย์ จังหวัด ภูเก็ต จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้ใช้บริการที่มี เพศ อายุ และการศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน แต่ผู้ที่มีอาชีพและรายได้แตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัญหาสำคัญ ได้แก่ ช่องการบริการและจำนวนพนักงานในการบริการไม่เพียงพอ ขาดการประสานงาน สถานที่จอดรถไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการให้บริการ คือ ควรพิจารณาเสริมช่องการบริการในช่วงที่ผู้รับบริการหนาแน่น จัดระบบเกี่ยวกับสถานที่จอดรถ เจ้าหน้าที่ควรได้รับการพัฒนาด้านการบริการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการบริการที่ สามารถสร้างความประทับใจแก่ผู้รับบริการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8342
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_130058.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons