กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8354
ชื่อเรื่อง: ส่วนประสมการตลาด SCB UP2ME ตามความคิดเห็นของลูกค้า
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing mix of SCB UP2ME based on customer's opinion
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุทธนา ธรรมเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิมพ์ลภัทร อ้วนนวล, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด --การศึกษาเฉพาะกรณี
ธนาคารไทยพาณิชย์--การตลาด
บัตรเครดิต--การตลาด
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์จํากัด (มหาชน) ที่ใช้บริการ SCB UP2ME ที่มีต่อส่วนประสมการตลาดทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช้องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านการให้บริการ ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ และ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาด 7 ด้าน จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ ลูกค้าของธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) ที่ใช้บริการ SCB UP2ME จำนวน 223,928 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษาพบว่าลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-30,000 บาท ความถี่ในการ ใช้บริการน้อยกว่า 2 ครั้งต่อวัน และเลือกใช้บริการธุรกรรมของ SCB UP2ME มากกว่า 1 บริการ โดยบริการที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด คือ การโอนเงิน การเช็คยอดเงิน บริการจ่ายตังค์ รับตังค์ บริการเติมเงิน และบริการชำระเงิน ตามลำดับ โดยมีการใช้บริการ SCB UP2ME มาแล้ว 1 - 2 ปี (1) ลูกค้าส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อส่วนประสมการตลาดในแต่ละด้านอยู่ในเกณฑ์เห็นด้วยมาก ซึ่งเป็นความคิดเห็นเชิงบวกมีเพียงปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดเท่านั้นที่ลูกค้ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง และ (2) ลูกค้าที่มีเพศ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อส่วนประสมการตลาดโดยรวมทั้ง 7 ด้าน ไม่แตกต่างกัน และลูกค้าที่มีอายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อส่วนประสมการตลาดโดยรวมทั้ง 7 ด้าน แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8354
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
futtext_150230.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons