กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8356
ชื่อเรื่อง: ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Type of social network affecting purchase decision tendency of consumer in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อโณทัย งามวิชัยกิจ
สิริลักษณ์ เงินศิริ, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี
สื่อสังคมออนไลน์
การซื้อสินค้า--การตัดสินใจ
การศึกษาอิสระ--การตลาด
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะข้อมูลส่วนบุคคลที่มีผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจซื้อสินค้าในแต่ละประเภทของสื่อสังคมออนไลน์และ (2) ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจซื้อสินค้า การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ใช้งาน อินเทอร์เน็ตที่เป็นคนไทย จำนวน 38,000,000 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณ ของทาโร่ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้จำนวน 402 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มประเภทของสื่อสังคมอออนไลน์เฟซบุ๊ก จำนวน 134 คน กลุ่มประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ ไลน์ จำนวน 134 คน และกลุ่มประเภทของสื่อสังคมออนไลน์อินสตาแกรม จำนวน 134 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ผู้ศึกษารวบรวมได้อัตราส่วนของเพศหญิงมีมากกว่าเพศชาย โดยส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 26-35 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000 – 25,000 บาท โดยประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัท (1) ลักษณะข้อมูลส่วนบุคคลด้านอาชีพที่แตกต่างกันมีผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจซื้อสินค้าของ ผู้บริโภคในประเทศไทยบนสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ (2) ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจของผู้บริโภคมากที่สุด คือ อินสตาแกรม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8356
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_150932.pdf12.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons