กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8371
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Moral development of school administrators
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ
พระบุญใหม่ วงศ์หาญ, 2490-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
จริยธรรมในการทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
การพัฒนาจริยธรรม
ผู้บริหารโรงเรียน
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารการศึกษามี วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณธรรมจริยธรรมที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา 2) เสนอแนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิเป็นหลัก และเสริมด้วยข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอฝาง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 จำนวน 16 ท่าน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในศึกษาคือแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย สรุปผลการศึกษา ได้ดังนี้ (1) คุณธรรมและจริยธรรมที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา มี 3 ด้าน คือ 1) คุณธรรมจริยธรรมด้านการครองตน ได้แก่ ฆราวาสธรรม 4 และสติสัมปชัญญะ 2) คุณธรรมจริยธรรมด้านการครองคน ได้แก่ สังคหวัตถุ 4 และพรหมวิหาร 4 และ 3) คุณธรรมจริยธรรม ด้านการครองงาน ได้แก่ อิทธิบาท 4 และราชสังคหวัตถุ 4 (2) แนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ จำเป็นสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา อาจพิจารณาได้จากทฤษฎีการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งที่สำคัญมี 6 กลุ่มด้วยกันคือ 1) กลุ่มแนวคิดทฤษฎีพัฒนาการทางความคิด 2) กลุ่มแนวคิดจิตพิสัย 3) กลุ่มแนวคิด พฤติกรรมนิยม 4) กลุ่มแนวคิดจิตพฤติกรรมศาสตร์ 5) กลุ่มแนวคิดสังคมวิทยา 6) กลุ่มแนวคิดทางศาสนา และ (3) ข้อเสนอแนะ 1) เชิงนโยบาย รัฐบาลต้องกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจนในการที่จะส่งเสริมคนดี และแก้ไขหรือขจัดคนไม่ดีออกจากระบบราชการโดยเฉพาะสถานศึกษา 2) ในทางปฏิบัติ กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องกำหนดเกณฑ์ในการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล เช่น การเสริมแรงโดยการให้รางวัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาที่ทำดี โดยมีกระบวนการในการคัดเลือกคนดี ประกาศเผยแพร่ยกย่องเชิดชูเป็นแบบอย่างของสังคม รวมทั้งกำหนดรางวัลเพื่อตอบแทนความดี และ สร้างแรงจูงใจให้คนอื่น ๆ ปฏิบัติตามด้วย กำหนดคะแนนด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรม ในการ ประเมินผลการปฏิบัติงานให้มากขึ้น และนำผลจากการได้รับรางวัลตามข้อ 2.1 มาคิดคะแนนด้วย ลงโทษ ทางวินัยผู้ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมอย่างเข้มงวด จริงจัง และรวดเร็ว เพื่อป้องปรามมิให้ผู้อื่นกระทำตาม 3) ในการวิจัยครั้งต่อไป เนื่องจากการสถานศึกษาทุกระดับเป็นสถาบันทางสังคมที่สำคัญ ในการวิจัยครั้งต่อไป จึงควรศึกษาสถานศึกษาในระดับอื่น ๆ ด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8371
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_134760.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons