กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8386
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการให้การบริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบล : กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors influencing the successful delivery services of subdistrict administrative organization : a case study of Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุมพล หนิมพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
วันดี กิมล่อง, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
องค์การบริหารส่วนตำบล -- ไทย -- นครศรีธรรมราช
บริการสาธารณะท้องถิ่น -- ไทย -- นครศรีธรรมราช
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความสำเร็จในการให้บิรการประชาชนของ องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการ ให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช (3) เสนอแนะแนวทาง ปรับปรุงและพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัด นครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยประชากรที่ศึกษาเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนผู้รับบริการ จำนวน 400 คน และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ จำนวน 286 คน จากองค์การบริหารส่วนตำบล 114 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 2 ชุด ชุดแรกใช้สอบถามประชาชนผู้รับบริการ ชุดที่สองใช้ สอบถามเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการโดยมีค่าความน่าเชื่อถือเท่ากับ .96 และ .79 สำหรับสถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และใช้การวิเคราะห์ถดถอย เชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความสำเร็จในการให้บริการประชาชนโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากกว่าร้อยละ 70 โดยได้ค่าจากการทดสอบ นัยสำคัญน้อยกว่า .05 และ ค่าที มากกว่า 0 ซึ่งสอดคล้องกับ สมมติฐานที่ตั้งไว้ (2) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับระดับประสิทธิผลและ ประสิทธิภาพ พบว่า ปัจจัยด้านหลักการบริการสาธารณะ ระบบการให้บริการ การมีส่วนร่วมของ ประชาชนและพฤติกรรมการให้บริการ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลการให้บริการประชาชน และปัจจัยด้านความพร้อมของทรัพยากรการบริหารและกระบวนการบริหารจัดการมีความสัมพันธ์เชิง บวกกับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการวิจัยมีข้อเสนอแนะในการพัฒนาการให้บริการ ได้แก่ การพัฒนาหลักการบริการ สาธารณะ การพัฒนาระบบการให้บริการ การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน การพัฒนาพฤติกรรม การให้บริการ พัฒนาความพร้อมของทรัพยากรการบริหารและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8386
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
100906 .pdfเอกสารฉบับเต็ม10.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons