กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8406
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาฝีมือแรงงานหลักสูตรฝึกเตรียมเข้าทำงาน สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 9 พิษณุโลกและศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดในเครือข่าย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problems obstacles of skilled labor development : pre-employment course, Phitsanulok Institute for Skill Development Region 9 and the provincial network |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา สุนิสา จุ้ยม่วงศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา ปรัชญาพงศ์ พรหมพล, 2497- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน แรงงานฝีมือ -- การฝึกอบรม |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาฝีมือแรงงาน หลักสูตรฝึกเตรียมเข้าทำงาน ของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 9 พิษณุโลกและศูนย์พัฒนาฝีเมือ แรงงานจังหวัดในเครือข่ายแบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านครูฝึกฝีมือแรงงาน ด้านหลักสูตรการฝึกฝีมือแรงงาน ด้านสถานที่ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ด้านเงินอุดหนุน และด้านการประชาสัมพันธ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบ ปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาฝีมือแรงงานตามความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกหลักสูตรเตรียมเข้า ทำงานของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 9 พิษณุโลกและศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดในเครือข่าย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยเป็นผู้รับการฝึกหลักสูตรฝึกเตรียมเข้าทำงาน จำนวน 209 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าตัวกลางเลข คณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาฝีมือแรงงาน ในความคิดเห็นของผู้รับ การฝึก หลักสูตรฝึกเตรียมเข้าทำงานซึ่งเป็นปัญหาอุปสรรคในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านครูฝึกฝีมือแรงงาน ที่ขาดทักษะในการใช้เครื่องมือเครื่องจักรและเทคนิคการถ่ายทอดที่หลากหลาย ด้านหลักสูตรฝึกฝีมือแรงงาน ในเรื่องเนื้อหาสาระและระยะเวลาที่ฝึก ด้านสถานที่ฝึกฝีมือแรงงานที่มีที่ตั้งอยู่ห่างไกล หัวเมืองและไม่มีรถประจำทางวิ่งผ่านเป็นปัญหาต่อการเดินทางและด้านเงินอุดหนุนมีปัญหาการจ่ายเงินที่ ล่าช้าและจำนวนเงินที่ได้รับไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพในปัจจุบัน ส่วนปัญหาที่สำคัญอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการประชาสัมพันธ์ในเรื่องการประกาศข่าวสารการรับสมัครของสถาบัน/ศนย์พัฒนาฝึกฝีมือแรงงาน จังหวัดขาดการนำออกเผยแพร่สู่สาธารณชน ไม่พบป้ายประกาศและสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ภารกิจ ข่าวสาร 2) เมื่อเปรียบเทียบปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาฝีมือแรงงานหลักสูตรฝึกเตรียมเข้าทำงานระหว่าง ผู้รับการฝึกของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 9 พิษณุโลก กับผู้รับการฝึกของศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดในเครือข่าย มีความคิดเห็นโดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8406 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
100920.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.02 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License