Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8418
Title: | พฤติกรรมการใช้สินเชื่อบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพในเขตบางรักกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Consumer behaviors of Bangkok Bank credit cards holders in Bangrak, Bangkok Province |
Authors: | อภิญญา วนเศรษฐ อภิชา วุฒิสิทธางกูร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี ธนาคารกรุงเทพ สินเชื่อ พฤติกรรมผู้บริโภค การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษา 1) ถึงปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการเลือกใช้บัตรเครดิต 2) พฤติกรรมการใช้บัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพและ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และค่าธรรมเนียมต่างๆ กับการใช้บัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพ การวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบสอบถามและทําการสุ่มตัวอย่าง ประชากร คือ กลุ่มคนวัยทํางานโดย จํานวน 400 คน ซึ่งมีช่วงอายุระหว่าง 20 -59 ปี และถือบัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพจะถือบัตรหลักหรือบัตรเสริมก็ได้ในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ส่วนการวิเคราะห์เชิงปริมาณจะใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า 1) จํานวนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 30 – 39 ปี มากที่สุด สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชนและมีรายได้ต่อเดือน 50,000 บาท 2) พฤติกรรมการใช้บัตรเครดิต พบว่า มูลค่าที่ใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน 10,000 บาท ใช้บัตรมากกวา 4 ครั้ง/เดือน ส่วนใหญ่ไม่ เคยเบิกเงินสด สถานที่ใช้บัตรเครดิตมากที่สุดคือ ห้างสรรพสินค้า ในส่วนค่าธรรมเนียมรายปี ที่คิดว่าเหมาะสม นั่นคือ 100 บาท ส่วนค่าธรรมเนียมในการกดเงินสด 50 บาทกลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นที่มีต่อการใช้สินเชื่อบัตรเครดิตด้านผลิตภัณฑ์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่ด้านราคา ด้านสถานที่และด้านการ ส่งเสริมการขายในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์กับความคิดเห็นที่มีต่อการใช้สินเชื่อประเภทบัตรเครดิต พบวาเพศที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นที่มีต่อการใช้สินเชื่อประเภทบัตรเครดิตในด้านผลิตภัณฑ์และด้านการส่งเสริมการขายที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านผลิตภัณฑ์ สถานภาพที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นที่มีต่อการใช้สินเชื่อประเภทบัตรเครดิตในด้านต่าง ๆ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านสถานที่ ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นที่มีต่อการใช้สินเชื่อประเภทบัตรเครดิตในด้านต่าง ๆ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา อาชีพที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นที่มีต่อการใช้สินเชื่อประเภทบัตรเครดิตในด้านต่าง ๆ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านผลิตภัณฑ์ และด้านสถานที่ 3) สําหรับการหาความสัมพันธ์ นั้นพบว่าตัวแปรรายได้ (X1) ไม่มีผลต่อจํานวนเงินที่ใช้ผ่านบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพแต่ค่าธรรมเนียมรายปี (X2) และ ค่าธรรมเนียมการกดเงินสด (X3) ต่างก็มีผลต่อจํานวนเงินที่ใช้ผ่านบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพ. |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8418 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
159149 (2).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License