กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8425
ชื่อเรื่อง: ผลของการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริงเพื่อเสริมสร้างความมุ่งมั่นในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of group psychological counseling based on reality therapy theory to enhance commitment to learning of Mathayom Suksa IV students at Phanat Pittayakarn School in Chon Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประภาสิริ ทรัพย์วิริยา, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --การศึกษาเฉพาะกรณี
การให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา
การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
การศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา.
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบระดับความมุ่งมั่นในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพนัสพิทยาคาร ก่อนและหลังการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริง และ (2) เปรียบเทียบระดับความมุ่งมั่นในการเรียนของนักเรียนในระยะหลังการทดลองกับในระยะติดตามผล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยมีแบบแผนการวิจัยเชิงกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างทึ่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2558 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงนักเรียนที่มีระดับคะแนนจากแบบวัดความมุ่งมั่นในการเรียนที่อยู่ในระดับตา และสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) โปรแกรมการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม ตามทฤษฎีเผชิญความจริง และ (2) แบบวัดความมุ่งมั่นในการเรียนมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบของวิลคอกซัน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภายหลังการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามทฤษฎี เผชิญความจริง นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการเรียนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และ (2) ความมุ่งมั่นในการเรียนของนักเรียนระหว่างระยะหลังการทดลองกับระยะ ติดตามผลไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8425
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_153554.pdfเอกสารฉบับเต็ม30.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons