กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8450
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสายปฏิบัติการหน่วยงานชิ้นส่วนภายในประเทศของบริษัทฮีโน่มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาบางปะกง จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Study of motivation factors affecting work performance of operational line employees of the Local Parts Unit, Hino Motors Manufacturing (Thailand) Company Ltd., Bang Pakong Plant, Chon Buri Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิธิพัฒน์ เมฆขจร วิยะดา ศรีจันทึก, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--การศึกษาเฉพาะกรณี การจูงใจในการทำงาน การศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา การบริหารงานบุคคล |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของพนักงานระดับปฏิบัติการหน่วยงานชิ้นส่วนภายในประเทศของ บริษัทฮีโน่มอเตอร์ส แมนู แฟคเจอรี่ง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาบางปะกง จังหวัดชลบุรี จำแนกตาม เพศ อายุ สถานะภาพ ระดับการศึกษา รายได้ ประสบการณ์การทำงาน และรูปแบบการสื่อสารในองค์กรวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานสายปฏิบัติการหน่วยงานชี้นส่วนภายในประเทศ บริษัท ฮีโน่มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอรี่ง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาบางปะกง จำนวน 233 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการหน่วยงาน ชิ้นส่วนภายในประเทศ ทั้งหมดจำนวน 150 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามรูปแบบการสื่อสารในองค์การ และแบบประเมินแรงจูงใจ มีค่าความ เที่ยงเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการศึกษา พบว่าพนักงานสายปฏิบัติการหน่วยงานชิ้นส่วนภายในประเทศของบริษัทฮีโน่มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาบางปะกง จังหวัดชลบุรี ที่มีเพศ อายุ สถานะภาพ รายได้ประสบการณ์การทำงาน และรูปแบบการสื่อสารต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน และเมื่อทดสอบเป็นรายคู่ พบว่า พนักงานที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 กับ พนักงานที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ และพนักงานที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8450 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_139296.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.09 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License