Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8484
Title: การพัฒนาการให้บริการผู้โดยสารของท่าอากาศยานลำปาง
Other Titles: Development of passenger services at Lampang Airport
Authors: จีระ ประทีป,อาจารย์ที่ปรึกษา
มนันยา สุวรรณพุ่ม, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ท่าอากาศยานลำปาง--การจัดการ
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์การให้บริการผู้โดยสารของท่าอากาศยานลำปาง (2) เสนอแนวทางการพัฒนาการให้บริการผู้โดยสารของท่าอากาศยานลำปาง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้โดยสารที่มาใช้บริการของท่าอากาศยานลำปาง จำนวน 3,874 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้โดยสารที่มาใช้บริการของท่าอากาศยานลำปาง จำนวน 363 คน โดยใช้ วิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบ สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการผู้โดยสารของท่าอากาศยานลำปาง มีความคิดเห็นระดับเห็นด้วยมากทั้ง 4 ด้าน โดยรายการที่มีระดับค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านกระบวนการให้บริการ คือ การบริการตรวจค้นผู้โดยสารเพื่อตรวจหาอาวุธและวัตถุอันตรายก่อนขึ้นเครื่องบินมีขั้นตอนการให้บริการที่ สะดวกรวดเร็ว ด้านเจ้าหน้าที่ คือ เจ้าหน้าที่ตรวจอาวุธและวัตถุอันตรายเอาใจใส่ในการปฏิบัติงาน สุภาพ อ่อน น้อม และมีอัธยาศัยดี ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก คือ สถานที่ตั้งของท่าอากาศยานลำปางมีความสะดวกในการเดินทางมารับบริการ และด้านผลการให้บริการโดยรวม มีความพึงพอใจโดยภาพรวมที่ได้รับจากการให้บริการของท่าอากาศยานลำปาง (2) แนวทางการพัฒนาการให้บริการผู้โดยสารของท่าอากาศยานลำปาง พบว่า ด้าน กระบวนการให้บริการ ควรมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ข้อปฏิบัติในการให้บริการแก่ผู้โดยสาร มากยิงขึ้น ด้านเจ้าหน้าที่ ควรมีการฝึกอปรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความสามารถในการให้บริการ สามารถอธิบาย ตอบข้อสงสัย และช่วยแก้ปัญหาให้แก่ผู้โดยสารได้ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ควรมีการปรับปรุงพื้นที่บริเวณลานจอดรถยนต์ให้มีเพียงพอต่อความต้องการใช้บริการ มีความสะอาด เรียบร้อยและปลอดภัยมากยิงขึ้น และจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นเพิ่มเติม เช่น ตู้กดเงินสดอัตโนมัติ บริการรับฝากรถ และบริการรับฝากกระเป๋าเป็นต้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8484
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_144747.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons