กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8486
ชื่อเรื่อง: แนวทางการจัดการคุณภาพโดยรวมของการตรวจสอบภายใน : กรณีศึกษาการตรวจสอบภายในมหาวิทยาลัยของรัฐ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Total quality management guideline for internal auditing : a case study of the internal auditing in the State Universities
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิยาภรณ์ นิลชำนาญ, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยและวิทยาลัย
การตรวจสอบภายใน
การบริหารงานคุณภาพเบ็ดเสร็จ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการ จัดการคุณภาพโดยรวม โดยนำวงจร PDCA (Pian - Do - Check - Action) มาประยุกต์ใช้กับ กระบวนการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน และ (2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้ตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยของรัฐ เกี่ยวกับการจัดการคุณภาพโดยรวมของการตรวจสอบภายใน วิธีการศึกษา ศึกษาข้อมูลทุติยภูมิเกี่ยวกับ แนวคิด ทฤษฎีการจัดการคุณภาพโดยรวม ของนักวิชาการค้ำนคุณภาพ จากเอกสาร ตำราวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศเละ ต่างประเทศ และศึกษาข้อมูลปฐมภูมิจากประชากรซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยของรัฐ 24 แห่ง จำนวน เรร ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งแบบสอบถาม ทางไปรษณีย์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2550 ได้รับกลับคืนมาจำนวน 122 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 78.71 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ด่วามถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า 1) วงจร PDCA เป็นเครื่องมือการบริหารงานสมัยใหม่ที่มีหลักการ บริหารเพื่อปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับกระบวนการปฏิบัติงานตรวจสอบ ภายใน ได้ดังนี้ P (Plan) คือ การวางแผน โดยกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการบรรลุให้ ชัดเจน D (D0)คือ การปฏิบัติงาน โดยลงมือปฏิบัติงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ มีการตรวจสอบเอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวช้องและบันทึกผลการตรวจสอบลงในกระดาบทำการ มีการส์อบท่านโดยหัวหน้าทีม ตรวจสอบและจัดทำรายงานผลการตรวจสอบ C (Check) คือ การตรวจสอบเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน ตรวจสอบภายในตามแผนและประเมินผลสำเร็งของงานโดยเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานจริงกับแผนงานที่ กำหนดไว้ และ A (Action) คือ การปรับปรุง แก้ไขปัญหาอุปสรรดที่ทำให้กระบวนการปฏิบัติงาน ตรวจสอบภายในไม่เป็นไปตามแผน พร้อมทั้งจัดทำมาตรฐานการตรวจสอบภายใน เพื่อเป็นแนว ทางการปฏิบัติต่อไป 2) ความคิดเห็นของผู้ตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพโดยรวมของ การตรวจสอบภายใน มีความเห็นด้วยในระดับมากทุกด้าน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8486
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
112992.pdf5.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons