กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8494
ชื่อเรื่อง: ภาพลักษณ์ของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ตามความคิดเห็นของผู้รับบริการในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Image of Thailand Post Company Limited : the opinions of customers in Hat Yai Municipality
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสาวภา มีถาวรกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชญานิศ แก้วอินทร์ศรวล, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะส่วนบุคคลของผู้รับบริการบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ (2) ระดับภาพลักษณ์ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดตามความคิดเห็นของผู้รับบริการในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ และ (3) เปรียบเทียบความแตกต่างของ ระดับภาพลักษณ์ตามความคิดเห็นของผู้รับบริการบริษัทไปรษณีย์ไทย จํากัด ในเขตเทศบาลนคร หาดใหญ่ จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้รับบริการบริษัทไปรษณีย์ไทย จํากัด ณ ที่ทำการไปรษณีย์ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบตามสะดวก และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ค่าสถิติพรรณนาที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติอนุมานที่ใช้ ได้แก่ สถิติวิเคราะห์ค่าที และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 25 - 34 ปี ระดับการศึกษา ปริญญาตรี อาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 - 20,000 บาท (2) กลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด โดยรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ภาพลักษณ์ด้านองค์กรและภาพลักษณ์ด้านพนักงานอยู่ในระดับดี แต่ภาพลักษณ์ด้านการบริการและภาพลักษณ์ด้านสังคมอยู่ในระดับปานกลาง (3) จากการเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับภาพลักษณ์จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศและระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อระดับภาพลักษณ์โดยรวมทั้ง 4 ด้านไม่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อระดับภาพลักษณ์โดยรวมทั้ง 4 ด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนกลุ่ม ตัวอย่างที่มีอาชีพแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อระดับภาพลักษณ์ด้านองค์กร ด้านการบริการ และด้าน พนักงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05แต่ภาพลักษณ์ด้านสังคมไม่แตกต่างกน และกลุ่ม ตัวอย่างที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อระดับภาพลักษณ์ด้านองค์กร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 แต่ภาพลักษณ์ด้านการบริการ ด้านพนักงานและด้านสังคมไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8494
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_151894.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons