Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8498
Title: | การพัฒนาระบบ balanced scorecard เพื่อการประเมินผลการปฏิบัติงานของบริษัทท่าเรือประจวบ จำกัด |
Other Titles: | Development of balanced scorecard system for performance evaluation of Prachuap Port Company Limited |
Authors: | สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ สมศักดิ์ ศิวะไพบูลย์, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี การประเมินผลงาน สัมฤทธิผลขององค์การ การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การพัฒนารูปแบบและขั้นตอนการนำระบบ Balanced Scorecard ใช้ในการจัดการองค์กร สำหรับเป็นเครื่องมือการประเมินผลการดำเนินงานขององค์กร ผู้บริหาร และพนักงาน ในแต่ละระดับ (2) เปรียบเทียบวิธีการจัดการก่อนและหลังที่องค์กรนำระบบ Balanced Scorecard มาใช้ในการจัดการองค์กร และผลสำเร็จที่เกิดจากการนำระบบ Balanced Scorecard ไปสู่การปฏิบัติประชากรที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้คือ พนักงานของบริษัท ท่าเรือประจวบ จำกัด จำนวน 83 คน ซึ่งใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิและทุติยภูมิมาสังเคราะห์ โดยการจัดประชุมทุกเดือนระหว่างผู้บริหารและพนักงานของบริษัท ท่รือประจวบ งำกัคเพื่อกำหนดตัวชี้วัด ตัวระบบการวัดผล Balanced Scorecard และทำการเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ได้กำหนดขึ้น เพื่อวัดและประเมินผลองค์กร แล้วรายงานผลเป็นรายไตรมาสและวันสิ้นปีปฏิทิน วิธีการ วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิชีวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า (1) การพัฒนารูปแบบโดยการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กรร่วมกันจากข้อมูลแหล่งปฐมภูมิ นำมาจัดทำเป็นแผนที่กลยุทธ์ มีขั้นตอนตั้งแต่การวิเคราะห์องค์กร การสร้างวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ขององค์กรที่มีปัจจัยต่อความสำเร็จและสร้างดั คัชนีขี้วัด ความสำเร็จตาม ระบบ Balanced Scorecard มาใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรทั้งผู้บริหารและพนักงานในแต่ละระดับ วิธีการ จัดการก่อนนำระบบ Balanced card มาใช้โดยมุ่งเน้นเฉพาะผลการดำเนินงานรวมขององค์กรและไม่มีการประเมินผลย่อยในแต่ละระดับอย่างชัดเจนทำให้ไม่สามารถพัฒนาองค์กรให้เติบโตในระยะยาว (2) ข้อมูลทุติยภูมิจากแผนพัฒนาธุรกิจและจากแนวทางการพัฒนาระบบ Balanced Scorecard มาใช้ใด้มีการกำหนดตัวชี้วัดตามระบบวัดผล Balanced Scorecard เพื่อใช้ในการประเมินผลการคำเนินงานของแต่ละระดับ ซึ่งประกอบด้วย ตัวชี้วัดใน 4 มุมมอง ได้แก่ มุมมองด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และการพัฒนา ทำให้การดำเนินงานขององค์กรมีคุณภาพ สามารถ ควบคุมต้นทุนและ ผลดำเนินงานโดยมีการประเมินผลที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม และ ผลสำเร็จของการนำระบบ Balanced Scorecard ไปสู่การปฏิบัติคือ บุคลากรมืเป้าหมายร่วมกันมากขึ้น มีการพัฒนาความสามารถและมีการกำหนดเป้าหมายในแต่ละด้านอย่างมีเหตุผล มีการประเมินค่าตอบแทนแบบมีเงื่อนไขโคยอิงจากผลงานที่ทำได้จริงและมุ่งเน้นต่อสิ่งที่มีความสำคัญ ต่อความสำเร็จขององค์กร การรวบรวมข้อมูลตามตัวชี้วัดที่กำหนดขึ้นและประเมินผลการคำเนินงาน ทำให้ต้นทุนการปฏิบัติงานลดลงเฉลี่ย 5 เปอร์เซ็นต์ และรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 7 เปอร์เซ็นต์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8498 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
127189.pdf | 3.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License