Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/849
Title: | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและรับรองคุณภาพด้านการบำบัดรักษายาเสพติดของโรงพยาบาลในเขตตรวจราชการที่ 3 |
Other Titles: | Factors associated with the improvement and accreditation ot treatment quality for drugs abuse by hospitals in the 3 rd health inspection region |
Authors: | นิตยา เพ็ญศิรินภา นีรนุช โชติวรางกูล, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา คนองยุทธ กาญจนกูล |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ บุคลากรทางการแพทย์ การติดยาเสพติด โรงพยาบาล--การรับรองคุณภาพ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านผู้ปฏิบัติงาน ปัจจัยสนับสนุนการจัดบริการและการดำาเนินงานการพัฒนาคุณภาพบริการบำบัดรักษายาเสพติดของโรงพยาบาล ในเขตตรวจราชการที่ 3 (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้ปฏิบัติงานและปัจจัยสนับสนุนการจัดบริการ กับการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพบริการบำบัดรักษายาเสพติดของโรงพยาบาล (3) เปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยด้านผู้ปฏิบัติงานและปัจจัยสนับสนุนการจัดบริการ ระหว่างโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป กับโรงพยาบาลชุมชน (4) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานบำบัดรักษายาเสพติด การวิจัยเป็นแบบสํารวจ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยง .988 ประชากรศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานบำบัดรักษายาเสพติดของโรงพยาบาลในเขตตรวจราชการที่ 3 ที่ตอบแบบสอบถามกลับจํานวน 77 คน จากเจ้าหน้าทั้งหมด 109 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่า เฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ไค-สแควร์และการทดสอบ แมนวิทนีย์ ยู ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยด้านผู้ปฏิบัติงานด้านการรับรู้บทบาทหน้าที่ ความพึงพอใจในงานโดยรวม และปัจจัยสนับสนุนการจัดบริการอยู่ในระดับมาก ส่วนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพบริการบำบัดรักษายาเสพติดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติในทางบวก ระหว่างปัจจัยด้านผู้ปฏิบัติงาน ในด้านการรับรู้บทบาทหน้าที่และความพึงพอใจในงาน และ ปัจจัยสนับสนุนการจัดบริการ กับการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพบริการบำบัดรักษายาเสพติด พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ของปัจจัยสนับสนุนการจัดบริการระหว่างโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป กับโรงพยาบาลชุมชน โดยโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป มีปัจจัยสนับสนุนการจัดบริการในระดับดีกว่าโรงพยาบาลชุมชน (4) ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะส่วนใหญ่ คือ เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติงานหลายด้าน การขาดทักษะและประสบการณ์ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานจริงไม่เพียงพอ ปัญหาด้านสถานที่ และผู้บริหารมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพงานยาเสพติด |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/849 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License