กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8521
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชลประทานวิทยา จังหวัดนนทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of a mathematics diagnostic test on the topic of surface area and volume for Mathayom Suksa III students of Cholapratan Witthaya School in Nonthaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุพักตร์ พิบูลย์ จารุวรรณ กุศลการณ์, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นลินี ณ นคร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--นนทบุรี |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และเพื่อตรวจสอบคุณภาพในด้านความเที่ยง ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ และความตรงตามเนื้อหา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนชลประทานวิทยา จังหวัด นนทบุรี กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เป็น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับทดสอบย่อยตามจุดประสงค์เพื่อรวบรวมลักษณะความผิดที่นักเรียนมัก ตอบบ่อย ๆ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เพื่อตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือครั้งที่ 1 (ทดสอบค่า ความยาก และค่าอำนาจจำแนก) กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือครั้ง ที่ 2 (ทดสอบค่าความเที่ยง และค่าความคาดเคลื่อนมาตรฐานของการวัด) กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้หาคุณภาพของแบบสอบวินิจฉัย ได้แก่ ค่าความเที่ยง ค่าความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ และค่า ความตรงตามเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า จากการทดสอบเพื่อหาคุณภาพของแบบสอบทั้ง 2 ฉบับ มีค่าความ ยากอยู่ระหว่าง .66 - .79 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .36 -.96 ค่าความเที่ยงแบบสอบฉบับที่ 1 มีความเที่ยง .966 ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการวัด .129 ค่าความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ .694 และ ฉบับที่ 2 มีความเที่ยง 0.812 ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการวัด 0.032 ค่าความตรงตาม เกณฑ์สัมพันธ์ .625 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และค่าความตรงตามเนื้อหาซึ่งพบว่า สอดคล้องระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้กับข้อสอบแบบวินิจฉัย ทั้ง 2 ฉบับ มีค่า .80 – 1.00 ใน ด้านคะแนนจุดตัดของแบบสอบวินิจฉัยทั้ง 2 ฉบับ เท่ากับ 40 และ 39 ตามลำดับ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8521 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
128801.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.58 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License