Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8522
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorศศิวิมล ไชยเทศ-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-08-07T02:14:57Z-
dc.date.available2023-08-07T02:14:57Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8522-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการให้บริการสาธารณะของ สำนักงานเทศบาลเมืองพิจิตรตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลเมืองพิจิตร (2) ประเมินผลความสำเร็จในการ ให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองพิจิตร (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อความสำเร็จใน การให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองพิจิตร และ (4) สำรวจปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการ สาธารณะของเทศบาลเมืองพิจิตร รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในเทศบาลเมืองพิจิตร จำนวน 240 คน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สถิติที่ใช้ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิผลการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองพิจิตร โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประสิทธิผลการให้บริการสาธารณะตามเกณฑ์ผลลัพธ์ ตามที่คาดหวัง ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ และผลลัพธ์ตามเป้าหมายอยูในระดับมาก ตามลำดับ ผ่านเกณฑ์ ประเมิน (2) การประเมินผลความสำเร็จในการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองพิจิตร โดยรวมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทั้งด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้าน ผลผลิตอยู่ในระดับมากทุกด้าน ผ่านเกณฑ์ประเมิน (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อ ความสำเร็จในการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองพิจิตร พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาการทำงานที่สำนักงานเทศบาลเมืองพิจิตร ต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และ (4) ปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการสาธารณะได้แก่ งบประมาณและทรัพยากรบริหารขาดแคลน บุคลากรส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างประจำทำให้ขาดความพึงพอใจ และขาดความร่วมมือในการทำงาน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ปัญหาดังกล่าวควรแก้ไข ด้วยการบริหารงบประมาณตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องพร้อมกับปลูกจิตสำนึกของบุคลากรใน การให้บริการสาธารณะth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectบริการสาธารณะท้องถิ่น--ไทย--พิจิตรth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจth_TH
dc.titleประเมินผลการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองพิจิตรth_TH
dc.title.alternativeThe evaluation of public service of Phichit Municipalityth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were: (1) to study level of public service effectiveness of Phichit Municipal Office according to the authority of Phichit Municipality; (2) to evaluate the achievement of public service of Phichit Municipal Office; (3) to compare personnel’s opinion on the achievement of public service of Phichit Municipal Office; and (4) to explore problems and obstacles in giving public service of Phichit Municipal Office. This study was a survey research using quantitative research technique. A questionnaire was used as a research instrument. Population for this study was 240 personnel who had been working for Phichit Municipality. Samples were 150 personnel derived from simple sampling method. Statistics for data analysis employed frequency, mean, percentage, standard deviation, t-Test, and ANOVA analysis. The finding revealed that: (1) an overall image of level of public service effectiveness of Phichit Municipal Office was at high level. Considered each aspect, it showed that public service effectiveness on result based, by objectives and on goal based were at high level respectively and passed the evaluation criteria; (2) an overall image of the achievement evaluation of public service of Phichit Municipal Office was at high level. Considered each aspect, it showed that context, input, process and output were at high level respectively and passed the evaluation criteria; (3) the comparison of personnel’s opinion on the achievement of public service of Phichit Municipal Office, it showed that the respondents who had different gender, age, educational background, position, average income and work period at Phichit municipality gave no difference opinion; and (4) problems and obstacles of public service were insufficient budget and administrative resources, most of personnel were permanent hiring that caused of the lack of work satisfaction and participation and affected to performance decreases. These mentioned problems should be solved by budget administration according to the relevant laws and regulations as well as instill public mind to the personnelen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
155975.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.12 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons