กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8528
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพในการให้บริการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors relating the efficiency of the service of paying the allowance to elderly in Plaeng Yao Municipality, Chachoengsao Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พนมพัทธ์ สมิตานนท์ จิรัฏฐ์ ดิฐวัฒนบูลย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ--ไทย--ฉะเชิงเทรา การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับประสิทธิภาพของการบริการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพของเทศบาลตําบลแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพของการบริการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพของเทศบาลตําบลแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา (3) ปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพของเทศบาลตําบลแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือผู้สูงอายุ ที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตําบลแปลงยาวอําเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา จํานวน 743คน คํานวณหากลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง 260 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน เป็นสถิติการทดสอบแบบสองทาง ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับประสิทธิภาพในการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของเทศบาล ตําบลแปลงยาว อําเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ หลักความรับผิดชอบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด หลักการเปิดเผย หลักการตอบสนอง หลักประสิทธิภาพ และหลักการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ระดับประสิทธิภาพในการดําเนินงานในการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพของเทศบาลตําบลแปลงยาว โดยสรุปในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มิติด้านการเรียนรู้และพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ มิติด้านกระบวนการภายใน ด้านลูกค้า และด้านการเงิน (2) ปัจจัยในการปฏิบัติงานโดยรวมมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง (3) ปัญหาและอุปสรรคที่ พบ คือ ขั้นตอนการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีความยุ่งยาก ซับซ้อน ผู้สูงอายุส่วนมากขาดความรู้ ความเข้าใจในหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จากผลการศึกษา พบว่า ควรแก้ไขปัญหาและอุปสรรค โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการด้านต่าง ๆ ให้กับผู้สูงอายุ เช่น การลดขั้นตอนด้านต่าง ๆ ที่ไม่จําเป็นหรือซํ้าซ้อนออกไป และอํานวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ให้กับผู้สูงอายุที่เข้ามารับบริการกับหน่วยงาน อีกทั้งผู้บริหารควรให้ความสําคัญในปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานทุกด้านของบุคลากรต้องส่งเสริมบุคลากรทุกระดับได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงาน เช่น เข้ารับการอบรม สัมมนาในด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้สูงยิ่งขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8528 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
156164.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.24 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License