กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8530
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานผู้ให้บริการทางการแพทย์และพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Human resource development of medical and nursing service staffs in a large private hospital in Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาวิน ชินะโชติ
สุดารัช ชัยศรี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ทรัพยากรมนุษย์--การจัดการ
บริการทางการแพทย์--ไทย--กรุงเทพฯ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานผู้ให้บริการทางการแพทย์และพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร และ (2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของผู้ให้บริการทางการแพทย์และพยาบาล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ คือ พนักงานผู้ให้บริการทางการแพทย์และพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร กำหนดกลุ่มประชากรแบบไม่ทราบจำนวน ประชากรที่แน่นอนตามวิธีการของคอแครน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีเพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่มและการทดสอบค่าเอฟด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเพื่อทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่กลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อย ที่สุด โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า พนักงานผู้ให้บริการทางการแพทย์และพยาบาลมีให้ความสนใจในด้านการอบรม การพัฒนาและการศึกษา และ (2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นพนักงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงานและอัตราเงินเดือนที่ได้รับแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านเพศสถานภาพ ตำแหน่งงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8530
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
157855.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons