Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8531
Title: | การศึกษาสาเหตุและผลการช่วยเหลือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำโรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา จังหวัดศรีสะเกษ |
Other Titles: | Study of low academic achievement causes and the effects of helping Mathayom Suksa VI students with low academic achievement of Kantharalak Wittaya School, Si Sa Ket Province |
Authors: | ลัดดาวรรณ ณ ระนอง ศรีรัตนา ฝอยทอง, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นิธิพัฒน์ เมฆขจร |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว--วิทยานิพนธ์ ระดับสติปัญญา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสาเหตุที่ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ต่ำและ (2) ช่วยเหลือให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปี การศึกษา 2554 โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2553 ต่ำ กว่า 1.30 จำนวน 8 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล (2) อัตชีวประวัติ (3) บันทึกประจำวัน (4) การสัมภาษณ์ครูที่เกี่ยวข้อง (5) การ สัมภาษณ์นักเรียน (6) แบบสอบถามนิสัยทางการเรียน (7) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียน (8) แบบทดสอบวาดภาพบ้าน ต้นไม้ คน (9) การเยี่ยมบ้านและบันทึกการเยี่ยมบ้าน (10) แบบสอบถามเพื่อ รวบรวมข้อเท็จจริงจากผู้ปกครอง (11) สังคมมิติ (12) แบบสอบถามใครเอ่ย และ (13) แบบสอบถาม บรรยากาศทางการเรียน ใช้เวลาในการเก็บข้อมูล 4 เดือน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ร้อยละ และการวิเคราะห์ เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ มีสาเหตุมาจาก ตัวนักเรียนเอง ได้แก่ ขาดความสนใจในการเรียน ขาดความกระตือรือร้น ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่ส่งงาน ขาดเรียนบ่อย ไม่ เข้าใจบทเรียนไม่ซักถามครู คุยในเวลาเรียน เหม่อลอย ไม่ทบทวนบทเรียน ไม่มีการเตรียมตัวในการเรียน ล่วงหน้า ไม่มีสมาธิในการเรียน นอกจากนี้ บิดามารดาของนักเรียนไม่ได้เอาใจใส่ต่อการเรียนของนักเรียน และบรรยากาศการจัดการเรียนการสอนของครูและจำนวนนักเรียนที่มีจำนวนมากในชั้น ทำให้นักเรียนมี พฤติกรรมไม่ตั้งใจเรียน ซึ่งส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และ (2) ภายหลังจากการให้ ความช่วยเหลือโดยเฉพาะปัญหาที่มีสาเหตุจากตัวนักเรียนลดลง นักเรียนเข้าใจบทบาทหน้าที่ตนเองมาก ขึ้น เข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอ รับผิดชอบต่อการเรียนมากขึ้น การศึกษารายกรณี ครั้งนี้สามารถช่วยเหลือให้ นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนไปในทางที่ดีขึ้นและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนว))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8531 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
128812.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License