Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8534
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมคิด พรมจุ้ย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorทัศนีย์ ชาติไทย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorชูศิลป์ นาราหนองแวง, 2501--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-08-07T06:25:45Z-
dc.date.available2023-08-07T06:25:45Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8534-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาเครื่องมือวัดจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 และ (2) ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ วัดจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูจำนวน 10 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 34 คน นักเรียนจำนวน 980 คน นักเรียนได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น ครูและผู้ปกครองเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นเครื่องมือ วัดจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 จำนวน 3 ฉบับ คือ (1) แบบประเมินตนเองของนักเรียน (2) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนโดยครู และ (3) แบบประเมินนักเรียนโดยผู้ปกครอง สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ดัชนีความ สอดคล้อง การทดสอบค่าที สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ผลการวิจัยพบว่า (1) เครื่องมือวัดจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 มีลักษณะเป็นข้อคำถามปลายปิดแบบมาตรประมาณค่า 4 ระดับ ที่พัฒนาขึ้นมี 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินตนเองของนักเรียน จำนวน 40 ข้อ ฉบับที่ 2 แบบ สังเกตพฤติกรรมนักเรียนโดยครู จำนวน 30 ข้อ ฉบับที่ 3 แบบประเมินนักเรียนโดยผู้ปกครอง จำนวน 25 ข้อ และ (2) ผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดจิตสาธารณะ พบว่า ฉบับที่ 1 แบบประเมินตนเองของนักเรียน มี ความตรงเชิงเนื้อหาโดยค่าดัชนีความสอดคล้องมีค่าระหว่าง .50 ถึง 1.00 มีความตรงตามโครงสร้างระหว่าง .44 ถึง .68 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความตรงตามสภาพ โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างแบบประเมิน ตนเองของนักเรียนกับแบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนโดยครูมีค่าเท่ากับ .75 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 8.26 ถึง 14.79 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าความเที่ยง .95 ฉบับที่ 2 แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนโดยครูมีความตรงเชิงเนื้อหาโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .67 ถึง 1.00 มีความตรงตามโครงสร้างระหว่าง .41 ถึง .85 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 มีค่าความเที่ยง .98 และ ฉบับที่ 3 แบบประเมินนักเรียนโดยผู้ปกครอง มีความตรงเชิงเนื้อหาโดยค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .50 ถึง 1.0 มีความตรงตามโครงสร้างระหว่าง .50 ถึง .90 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าความเที่ยง .96th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2011.285en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการศึกษาขั้นมัธยม -- การศึกษาและการสอนth_TH
dc.titleการพัฒนาเครื่องมือวัดจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 31th_TH
dc.title.alternativeDevelopment of assessment scales on public-mindedness of upper secondary students in schools under the Office of Secondary Education Service Area 31th_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to develop assessment scales on publicmindedness of upper secondary students in schools under the Office of Secondary Education Service Area 31; and (2) to verify quality of the developed assessment scales on publicmindedness of upper secondary students in schools under the Office of Secondary Education Service Area 31. The research sample consisted of 10 teachers, 34 parents and 980 upper secondary students in schools under the Office of Secondary Education Service Area 31. The teachers and parents were purposively selected; while the students were obtained by stratified random sampling. The research instruments employed in this study were three scales to assess public-mindedness of upper secondary students in schools under the Office of Secondary Education Service Area 31, namely, (1) a self-assessment scale for students; (2) a student behavior observation form for teachers; and (3) a student evaluation form for parents. The statistics employed for quality verification of the assessment scales were the IOC, Pearson correlation coefficient, t-test, and Cronbach alpha coefficient. Research findings were as follows: (1) the three developed assessment scales on public-mindedness of upper secondary students in schools under the Office of Secondary Education Service Area 31 were 4-scale rating questionnaires with the following details: the first scale, the self-assessment scale for students contained 40 items; the second scale, the student behavior observation form for teachers contained 30 items; and the third scale, the student evaluation form for parents contained 25 items; and (2) students, its content validity as represented by the IOC ranged from .50 – 1.00, its construct validity ranged from .44 to .68 which was statistically significant at the .01 level, its concurrent validity as represented by the correlation between the self-assessment scale for students and the student behavior observation form for teachers was .75 which was statistically significant at the .01 level, its discriminating power ranged from 8.26 to 14.79 which was statistically significant at the .01 level, and its reliability coefficient was .95; for the second scale, the student behavior observation form for teachers, its content validity as represented by the IOC ranged from .76 to 1.00, its construct validity ranged from .41 to .85 which were statistically significant at the .05 and .01 levels, and its reliability coefficient was .98; and for the third scale, the student evaluation form for parents, its content validity as represented by the IOC ranged from .50 to 1.00, its construct validity ranged from .50 to .90 which was statistically significant at the .01 level, and its reliability coefficient was .96en_US
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
128944.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons