กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8534
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเครื่องมือวัดจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 31
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of assessment scales on public-mindedness of upper secondary students in schools under the Office of Secondary Education Service Area 31
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมคิด พรมจุ้ย
ชูศิลป์ นาราหนองแวง, 2501-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ทัศนีย์ ชาติไทย
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การศึกษาขั้นมัธยม--การศึกษาและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาเครื่องมือวัดจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 และ (2) ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูจำนวน 10 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 34 คน นักเรียนจำนวน 980 คน นักเรียนได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น ครูและผู้ปกครองเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นเครื่องมือวัดจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 จำนวน 3 ฉบับ คือ (1) แบบประเมินตนเองของนักเรียน (2) แบบสังเกพฤติกรรมนักเรียนโดยครูและ (3) แบบประเมินนักเรียนโดยผู้ปกครอง สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ดัชนีความสอดคล้อง การทดสอบค่าที สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ผลการวิจัยพบว่า (1) เครื่องมือวัดจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 มีลักษณะเป็นข้อคำถามปลายปิดแบบมาตรประมาณค่า 4 ระดับ ที่พัฒนาขึ้นมี 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินตนเองของนักเรียน จำนวน 40 ข้อ ฉบับที่ 2 แบบ สังเกตพฤติกรรมนักเรียนโดยครู จำนวน 30 ข้อ ฉบับที่ 3 แบบประเมินนักเรียนโดยผู้ปกครอง จำนวน 25 ข้อ และ (2) ผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดจิตสาธารณะ พบว่า ฉบับที่ 1 แบบประเมินตนเองของนักเรียน มีความตรงเชิงเนื้อหาโดยค่าดัชนีความสอดคล้องมีค่าระหว่าง .50 ถึง 1.00 มีความตรงตามโครงสร้างระหว่าง .44 ถึง .68 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความตรงตามสภาพ โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างแบบประเมินตนเองของนักเรียนกับแบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนโดยครูมีค่าเท่ากับ .75 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 8.26 ถึง 14.79 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าความเที่ยง .95 ฉบับที่ 2 แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนโดยครูมีความตรงเชิงเนื้อหาโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .67 ถึง 1.00 มีความตรงตามโครงสร้างระหว่าง .41 ถึง .85 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 มีค่าความเที่ยง .98 และฉบับที่ 3 แบบประเมินนักเรียนโดยผู้ปกครอง มีความตรงเชิงเนื้อหาโดยค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .50 ถึง 1.0 มีความตรงตามโครงสร้างระหว่าง .50 ถึง .90 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าความเที่ยง .96
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8534
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
128944.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons