Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8555
Title: การพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนร่มเกล้าตามเกณฑ์การตัดสินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ
Other Titles: Development of Romklao school's administrative system based on the Thailand Quality Award
Authors: สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร, อาจารย์ที่ปรึกษา
จรีลักษณ์ รัตนาพันธ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุมีนา สะแลแม, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
โรงเรียนร่มเกล้า -- การบริหาร
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานภาพระบบการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนร่มเกล้าโดยการเปรียบเทียบเกณฑ์การตัดสินรางวัลคุณภาพแห่งชาติโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ช่องว่าง และ (2) นำเสนอแนวทางปรับปรุงและพัฒนาสถานศึกษาให้สอดคล้องกับเกณฑ์การตัดสินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ผู้ร่วมการวิจัยและให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหาร ทีมพัฒนา ทีมประสานงานระบบ 45 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามระบบบริหารสถานศึกษาตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประกอบด้วย 7 เกณฑ์มาตรฐาน 220 ตัวบ่งชี้ และแบบสอบถาม คำถามปลายเปิดเกี่ยวกับแนวทางปรับปรุงสถานศึกษาที่สอดคล้องกับเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยครั้งนี้พบว่า (1) ระดับสถานภาพระบบการบริหารของโรงเรียนร่มเกล้า พบว่าระดับสถานภาพการนำโรงเรียน อยู่ในระดับ 4 ค่อนข้างมาก มีค่าเฉลี่ย 47.73 ส่วนผลลัพธ์ของโรงเรียนมีระดับสถานภาพ น้อยที่สุดมีค่าเฉลี่ย 34.82 จากภาพรวมโรงเรียนร่มเกล้า มีระดับสถานภาพทั้ง 7 เกณฑ์ อยู่ในระดับค่อนข้างน้อย มีค่าเฉลี่ย 39.31 ได้คะแนน 391.3 จาก 1,000 คะแนน และ (2) แนวทางที่เสนอเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาโรงเรียนร่มเกล้าสู่คุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ มีดังนี้ โรงเรียนต้องกำหนดทิศทางการดำเนินงานโดยกำหนดแผนยุทธศาสตร์และนำแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างชัดเจนโดยชุมชนมีส่วนร่วม สำหรับการทำแผนกลยุทธ์บุคลากรทุกฝ่ายต้องมีส่วนร่วมระดมสมองวิเคราะห์ SWOT การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนต้องให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน ควรมีการสนับสนุนงบประมาณ การทำงานเป็นทีม การออกแบบกระบวนการที่ยืดหยุ่น การสร้างความพึงพอใจ ในด้านทรัพยากรบุคคลโรงเรียนควรมีการมอบหมายงานให้เหมาะสมกับความสามารถ สนับสนุนให้มีความก้าวหน้า มีกระบวนการสร้างคุณค่า โรงเรียนควรมีการประเมินตนเอง และมีการปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่คุณภาพและการเรียนรู้ขององค์กร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8555
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
131081.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.81 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons