กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/855
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการดำเนินงานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to the success of health child care center implementation
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา
นิพรรณพร วรมงคล, 2496-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จิตตินันท์ เดชะคุปต์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยด้านผู้ดำเนินการ ปัจจัยด้าน กระบวนการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านการสนับสนุนทรัพยากร และปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานของศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดังกล่าวกับความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ และ (3) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาเป็นศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดำเนินการของศูนย์เด็กเล็ก ที่ผ่านเกณฑ์ศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ระดับดีมาก ระดับดี และพื้นฐาน จำนวน 358 แห่ง ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิที่แบ่งเป็น 12 จังหวัดตามเขตของศูนย์อนามัย กระทรวงสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าเฉลี่ยความเที่ยงเท่ากับ 0.95 ส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ได้รับกลับคืนจํานวน 310 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับร้อยละ 86.6 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ดำเนินการศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 35.74 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 51 ประสบการณ์การทำงานเฉลี่ย 6.36 ปี การได้รับความรู้ในการดำเนินการและแรงจูงใจในการทำงานอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ส่วนปัจจัยด้านกระบวนการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านการสนับสนุนทรัพยากร และปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนได้รับการสนับสนุนในระดับปานกลางถึงมาก (2) ในด้านปัจจัยด้านผู้ดำเนินการ พบว่า อายุการได้รับความรู้ในการดำเนินงานและแรงจูงใจในการทำงานมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการดำเนินงานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านกระบวนการบริหารจัดการปัจจัยด้านการสนับสนุนทรัพยากร และปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการดำเนินงานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ (3) ปัญหาอุปสรรคที่พบส่วนใหญ่ได้แก่การขาดความรู้ งบประมาณไม่เพียงพอ รวมทั้งขาดการมีส่วนร่วมจากชุมชน ข้อเสนอแนะควรมีการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ประสานภาคีเครือข่ายในชุมชน และส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อเด็ก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/855
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
108770.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons